
USA คงสถานะไทย ในบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง เป็นผลมาจาก “ไทย” มีการพัฒนา ระบบ ทรัพย์สินทางปัญหา อย่างต่อเนื่อง “พาณิชย์” มั่นใจ จะพ้นสถานะ “จับตามอง” ได้เร็วๆ นี้
USA คงสถานะไทย ในบัญชีประเทศที่ต้อง จับตามอง อธิบดี กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวง พาณิชย์ วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ เปิดเผยว่า สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (United States Trade Representative : USTR) ประกาศ สถานะการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญาของ ประเทศคู่ค้า รายสำคัญ ภายใต้กฎหมาย การค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ (Special 301) ประจำปี 2567 เมื่อ วันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา โดย คงสถานะ “ไทย” อยู่ใน บัญชี “ประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL)”
ประเด็น USA คงสถานะไทย ในบัญชีประเทศที่ต้อง จับตามอง ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดำเนินการ พัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญา ของไทย มาอย่างต่อเนื่อง และ พร้อมเดินหน้า ชี้แจงสหรัฐฯ ถึงพัฒนาการ และ เร่งขับเคลื่อน การเจรจา แผนงาน ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP Work Plan) เพื่อ ผลักดันให้ไทยหลุดจาก บัญชี WL
จากการประกาศสถานะ ดังกล่าว สหรัฐฯ ตระหนักถึง พัฒนาการด้านการคุ้มครอง และ ป้องปราม การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ของไทย
โดยเฉพาะการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายลิขสิทธิ์ และกฎหมายสิทธิบัตร รวมทั้งชื่นชม ความพยายามของหน่วยงานไทย ในการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และการบูรณาการภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซี่งรวมถึง การทำงานร่วมกัน ระหว่าง เจ้าของสิทธิ ตำรวจ และ เจ้าหน้าที่ศุลกากร
การจัดทำระบบฐานข้อมูล เครื่องหมายการค้า และ ลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร (Thai Customs IPR Recordation System : TCIRs) การจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วน ในการดำเนินการ ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ระหว่าง กรมทรัพย์สินทางปัญญา กับ กองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดพื้นที่ ที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ
อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ ยังคงมี ข้อห่วงกังวล เกี่ยวกับ ปัญหาบางประการ อาทิ ยังคงมีการลักลอบ บันทึกภาพยนตร์ ใน โรงภาพยนตร์ การแอบอ้างสิทธิในการ จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์ ออนไลน์ ผ่านอุปกรณ์ หรือ แอปพลิเคชัน สำหรับการสตรีม
และ ดาวน์โหลด content โดยไม่ได้ รับอนุญาต และความล่าช้า ในการดำเนินคดี ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้ง คดีแพ่ง และ คดีอาญา
USA คงสถานะไทย ในบัญชีประเทศที่ต้อง จับตามอง
“พาณิชย์” มั่นใจ “ไทย” หลุดจาก WL เร็วๆ นี้
อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ทรัพย์สินทางปัญญา ถือเป็นหนึ่ง ในนโยบายหลัก ที่รัฐบาล ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในด้าน การส่งเสริม การคุ้มครอง และ การปราบปราม การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ที่ผ่านมากรมฯ ได้ เร่งพัฒนา ระบบ ทรัพย์สินทางปัญญา ของประเทศ อย่างต่อเนื่อง และ มีพัฒนาการ ที่ชัดเจน โดย “ไทย” มุ่งมั่นดำเนินทุกภารกิจ เพื่อที่จะหลุดจาก บัญชี WL และ ทุกบัญชี ให้ได้
โดยปัจจุบัน วุฒิไกร กล่าวว่า ประเทศไทย ได้ดำเนินการหลายอย่าง โดยเฉพาะ โครงการ Smart DIP ซึ่ง อำนวยความสะดวกรวดเร็ว ให้กับ ประชาชน ในการให้ บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา มีเพียงบางเรื่อง ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น การแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อรองรับการเข้าเป็น ภาคีสนธิสัญญาว่า ด้วยการแสดง และ สิ่งบันทึกเสียง ของ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Performances and Phonograms Treaty : WPPT) และ การแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร เพื่อรองรับการเข้าเป็น ภาคีความตกลงกรุงเฮก ว่า ด้วย การจดทะเบียน การออกแบบผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (Hague Agreement Concerning International Registration of Industrial Designs : Hague Agreement) ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ มั่นใจว่า สหรัฐฯ จะพิจารณาให้ “ไทย” หลุดจากบัญชี WL และ ทุกบัญชี ในที่สุด วุฒิไกร กล่าว
ทั้งนี้ กรมฯ ขอขอบคุณ ทุกภาคส่วน ที่เห็นถึงความสำคัญ ของการคุ้มครอง และ การป้องปราม การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และให้ความร่วมมือ เป็นอย่างดี
วุฒิไกร กล่าวเน้นย้ำว่า กรมฯ จะเร่งผลักดันให้ “ไทย” หลุดจากบัญชี WL ให้สำเร็จ โดยเร็ว โดยเมื่อ วันที่ 30 เมษายน 2567 กรมฯ หารือ กับ USTR เพื่อเร่งจัดทำ แผนงาน ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP Work Plan) ร่วมกับ สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นกรอบ ในการดำเนินการเพื่อให้ “ไทย” หลุดจาก บัญชีที่ต้องจับตามอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/imf-economy-18042024/

Editor's Pick
