
สภาพัฒน์ฯ ระบุ เศรษฐกิจ ไทย ครึ่งแรก 2567 เติบโต 1.9% คาดทั้งปี เติบโตที่ 2.3-2.8% โดยมีค่ากลางที่ 2.5% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตที่ 2.0-3.0%

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า การขยายตัวของ เศรษฐกิจไทย ไตรมาส 2 ปี 2567 อยู่ที่ 2.3% เพิ่มขึ้นจาก 1.6% ในไตรมาสแรกของปี 2567
เป็นผลมาจากมี การใช้จ่ายของ การอุปโภคบริโภค ภาครัฐบาล และ เอกชนที่เพิ่มขึ้น รวมถึง ภาคการส่งออกสินค้า และ บริการ ที่ขยายตัว นอกจากนี้ ยังมี ปัจจัยหลัก มาจากการผลิต นอกภาคเกษตร ที่ขยายตัว จาก สาขาอุตสาหกรรม สาขา บริการที่เกี่ยวกับ การท่องเที่ยว เช่น สาขาที่พักแรม และ บริการด้านอาหาร สาขาขนส่ง สาขาการค้า
ขณะที่ การลงทุนรวม ลดลง 6.2% จาก การลงทุนภาคเอกชน ที่ลดลง 6.8% และ การลงทุนภาครัฐ ที่ลดลง 4.3%

นอกจากนี้ ภาคการก่อสร้าง ยังปรับตัว ลดลง 5.5% เป็นผลมาจาก งบลงทุน ของภาครัฐ และ เอกชนที่หดตัว
“อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของ ปี รัฐบาลจะต้อง เร่งเบิกจ่าย งบประมาณ ซึ่งมองว่า การเบิกจ่ายมีแนวโน้มดีขึ้น จากสัญญาผูกพันงบประมาณ ที่ผ่านมา และ การเบิกจ่าย เม็ดเงินลงุทน ของ รัฐบาลที่ดีขึ้น ตั้งแต่ เริ่มครึ่งปีหลัง ซึ่งเติบโตมากกว่าเดิม
ประกอบกับ จะมีเม็ดเงิน งบประมาณรายจ่าย ปี 2568 ที่จะเริ่มออกมาในเดือน ตุลาคม 2567 ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทย ไตรมาส 4 ปี 2567 มีเม็ดเงินเบิกจ่ายลงทุนมากขึ้นด้วย” ดนุชา กล่าว
สภาพัฒน์ฯ ระบุ เศรษฐกิจ ไทย ปี 2567 เติบโต 2.3-2.8%
สำหรับ อัตราการเติบโต ของเศรษฐกิจไทย ปี 2567 เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า ทาง สภาพัฒน์ฯ คาดว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทย จะขยายตัว ได้ 2.3-2.8% ซึ่งมี ค่ากลาง อยู่ที่ 2.5% เท่าเดิม กับ ที่เคยประมาณการ ไว้ในการแถลงรอบก่อนหน้า (เดือน พฤษภาคม) โดยคาดว่า การอุปโภคบริโภค และ การลงทุน ภาคเอกชน จะขยายตัว ได้ 4.5% และ 0.3% ตามลำดับ
ส่วนมูลค่าการส่งออก ในรูปของ ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ทั้งปี อยู่ในช่วง 0.4-0.9% ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 2,600 ล้านดอลลาร์ หรือ คิดเป็น 2.3% ต่อ GDP
ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2567 อยู่ที่ 224,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2567 อยู่ที่ 11.54 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 63.5% ต่อ GDP

ท่องเที่ยว – การใช้จ่ายภาคเอกชน – การลงทุนภาครัฐ-ส่งออก
4 ปัจจัย กระตุ้นเศรษฐกิจ ครึ่งปีหลัง
สำหรับ ปัจจัยสนับสนุน เศรษฐกิจไทย ในช่วงครึ่งหลัง ของปี 2567 ประกอบด้วย
1.การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ของ ภาคการท่องเที่ยว โดยการเพิ่มขึ้น ของจำนวน และ รายได้จาก นักท่องเที่ยวต่างชาติ มีแนวโน้ม กลับเข้าสู่ ระดับปกติมากขึ้น
ประกอบกับ มีแนวโน้ม การขยายตัว อย่างต่อเนื่อง ของนักท่องเที่ยวไทย
2.การขยายตัว ในเกณฑ์ดี ของ การอุปโภค – บริโภค ภายในประเทศ การใช้จ่ายใน หมวดบริการ และ สินค้าไม่คงทน มีแนวโน้ม ขยายตัวต่อเนื่อง
สอดคล้องกับ แนวโน้ม การเพิ่มขึ้น ของรายได้ ทั้งใน และ นอกภาคเกษตร เช่นเดียวกับ ตลาดแรงงาน ที่ยังแข็งแกร่ง โดยอัตราการว่างงาน ล่าสุด ยังถือว่า อยู่ในระดับต่ำ ที่ 1.07%
ขณะที่ความเชื่อมั่น ผู้บริโภค ยังอยู่ ในระดับสูง
3.การเพิ่มขึ้นของ แรงขับเคลื่อน จากการใช้จ่าย และ การลงทุนภาครัฐ ในช่วงครึ่งปีหลัง
การเร่งรัด การเบิกจ่าย งบประมาณ และ การใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปี งบประมาณ 2567 ส่งผลให้ การเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะ รายจ่ายลงทุน เร่งตัวขึ้น
และ แรงสนับสนุน เพิ่มเติม จากการ เบิกจ่าย ภายใต้กรอบ งบประมาณรายจ่าย ปี 2568 ที่คาดว่าจะ ดำเนินการแล้วเสร็จตามกรอบเวลาปกติ
4.การกลับมา ขยายตัวอย่างช้าๆ ของ ภาคการส่งออก ตามการฟื้นตัวของ การค้าโลก
โดยดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ทั้ง ภาคการผลิต และ บริการ ในหลายประเทศ ส่วนใหญ่ มีแนวโน้มฟื้นตัว
ประกอบกับ การเพิ่มขึ้น ของคำสั่งซื้อในกลุ่ม ประเทศอุตสาหกรรมหลัก และ แนวโน้มวัฏจักรขาขึ้น ของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์
หนี้ครัวเรือน – การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ – ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
3 ปัจจัยเสี่ยง กระทบเศรษฐกิจ ครึ่งปีหลัง
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีข้อจำกัด และปัจจัยเสี่ยง 3 เรื่อง ได้แก่
1.ภาระหนี้สินครัวเรือน และ ภาคธุรกิจ ที่ยังอยู่ในระดับสูง และ มาตรฐานสินเชื่อ ที่มีความเข้มข้นมากขึ้น
โดย หนี้ครัวเรือน ในปัจจุบัน ยังอยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับ สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และ สินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SML) ยังทรงตัวอยู่ ในระดับสูง
ขณะที่ สถาบันการเงิน เพิ่ม ความระมัดระวัง ในการให้สินเชื่อ มากขึ้น ส่งผลให้ มูลค่าสินเชื่อ ชะลอลง
2.ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะลานีญา ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะฝนตกหนักผิดปกติ จนนำไปสู่ปัญหาอุทกภัย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรม และทำให้ผลผลิตทางเกษตรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง
3.ความเสี่ยง จากความผันผวน ของ ระบบเศรษฐกิจ และ การเงินโลก จาก ความไม่แน่นอน ของ สถานการณ์ ความขัดแย้งทาง ภูมิรัฐศาสตร์
การปรับทิศทาง การดำเนินนโยบายการเงิน ของ ประเทศเศรษฐกิจหลัก การชะลอตัว มากกว่า ที่คาด ของเศรษฐกิจจีน และ ทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ และ การค้าของหลายประเทศสำคัญ ที่ยังไม่แน่นอน
โดยเฉพาะช่วงก่อน และ หลังการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
นอกจากนี้ เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ เห็นว่า ยังมี ประเด็นท้าทายสำคัญ สำหรับเศรษฐกิจไทย คือ การฟื้นตัวที่ล่าช้า ของภาคการผลิต และ การปรับโครงสร้างการผลิต
โดยมองว่า ภาคอุตสาหกรรม ของไทยยังคง ขยายตัว ในระดับต่ำ การลงทุนภาคเอกชน มีแนวโน้มฟื้นตัว ได้ช้า
สอดคล้อง กับ อัตราการใช้กำลังการผลิต ที่ยังปรับตัวลดลง อย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่ม สินค้าส่งออกสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้ว่า โครงสร้าง สินค้าส่งออกของไทย ยังเป็น สินค้าที่ใช้ เทคโนโลยีขั้นกลาง เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ การส่งออกสินค้า ที่ใช้ เทคโนโลยีสูง ยังมีสัดส่วนที่ต่ำ
“ดังนั้น เราต้อง เร่ง สร้างอุตสาหกรรมที่ใช้ เทคโนโลยีสูงขึ้น ซึ่งตอนนี้ มีการดำเนินการผ่าน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI
ในการชักชวน นักลงทุนต่างประเทศ จากหลายสาขา เข้ามา เช่น เซมิคอนดักเตอร์ และ เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้ง ต้องเร่งปรับปรุง กฎหมาย เพื่อดึงดูด การลงทุนเข้ามา มากขึ้น” ดนุชา กล่าว
สภาพัฒน์ฯ ระบุ เศรษฐกิจ ไทย
กับ 8 ปัจจัยสำคัญ ในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ ครึ่งปี หลัง 2567
นอกจากนี้ สภาพัฒน์ฯ ยังเห็นว่า การบริหารนโยบาย เศรษฐกิจมหภาค ในช่วงที่เหลือ ของปี 2567 ควรให้ความสำคัญกับเรื่องดังต่อไปนี้
1.การรักษา บรรยากาศทาง เศรษฐกิจ และ การเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะ การสร้างความต่อเนื่อง ของกระบวนการงบประมาณ เพื่อให้การใช้จ่าย และการลงทุนภาครัฐ เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน
2.การขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญกับการเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติ การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
การเร่งรัดโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญให้เป็นไปตามแผน การเพิ่มผลิตภาพการผลิตผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง
เพื่อนำไปสู่การผลิตสินค้าไทยที่มีศักยภาพและมีมูลค่าสูงขึ้น ที่สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา และมีมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด และข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า
3.การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาด และการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยมุ่งเน้น
1) การตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุ่มตลาด รวมทั้งการใช้มาตรการและวิธีการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากประเทศผู้ส่งออกสำคัญ
2) การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้าให้มีความเข้มงวดรัดกุมมากขึ้น
และ 3) การดำเนินการอย่างเคร่งครัดกับผู้กระทำความผิดลักลอบนำเข้าสินค้าที่ผิดกฎหมาย หรือหลบเลี่ยงภาษี
4.การดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอสำหรับภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ประสบปัญหาการเข้าถึงสภาพคล่องให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้
และลดการอาศัยแหล่งเงินกู้นอกระบบ ควบคู่ไปกับการยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs
5.การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว
โดยมุ่งเน้นการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนให้กระจายไปในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก
6.การเตรียมการรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปรากฏการณ์ลานีญา อันอาจนำไปสู่ความเสี่ยงจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปี
และปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงจากภัยแล้งในช่วงปีหน้า โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การยกระดับประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐาน และระบบการเตือนภัย
7.การเร่งรัดแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM2.5) และการเตรียมความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ
เพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) ในช่วงปลายปี
และยกระดับศักยภาพและฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและยั่งยืน ขณะเดียวกัน ต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนและเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป
8.การเตรียมมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบ และใช้ประโยชน์จากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการค้าโลก เช่น
ความรุนแรงของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การกีดกันทางการค้า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และความผันผวนในตลาดการเงินโลก, เลขาสภาพัฒน์ฯ กล่าว
ที่มาของข้อมูล : https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=12567
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/world-bank-03072024/

Editor's Pick
