
อสังหาฯ ระบุ ลด ค่าธรรมเนียม โอน-จดจำนอง เหลือ 0.1% ไม่พอ ต้อง “เพิ่มกำลังซื้อต่างชาติ” เพื่อกระตุ้นตลาด เนื่องจาก กำลังซื้อในประเทศ ไม่เพียงพอ
พรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะ โฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ มาตรการลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิ และ นิติกรรม สำหรับที่อยู่อาศัย โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1.วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุน และ บรรเทาภาระ ให้แก่ประชาชน ที่ต้องการมี ที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และส่งเสริม การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจ
รวมถึงช่วยรักษา ระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง กับภาคอสังหาริมทรัพย์
- กลุ่มเป้าหมาย ผู้ซื้อซึ่งเป็น บุคคลธรรมดา ที่มีสัญชาติไทย ที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเ ป็นของตนเอง และ ผู้ขายที่ต้องการขาย อสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่เป็น อาคารที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และ ห้องชุด
ในราคาซื้อขาย และ ราคาประเมินทุนทรัพย์ ไม่เกิน 7 ล้านบาท และ วงเงินจำนอง ไม่เกิน 7 ล้านบาท
- ระยะเวลาดำเนินการ ให้มาตรการดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ กฎหมายไ ด้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2569
- วิธีดำเนินการ ลดค่าจดทะเบียน โอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 0.01% และ ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือ 0.01% เฉพาะ ที่จดทะเบียนโอนในคราวเดียวกัน
สำหรับ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ อาคารที่อยู่อาศัยประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด หรือ บ้านแถว หรือ อาคารพาณิชย์ หรือ ที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าว
หรือห้องชุด ที่จดทะเบียนอาคารชุด โดยมี ราคาซื้อขาย และ ราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท และ วงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อสัญญา โดยไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน
โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการดังกล่าวข้างต้น จะช่วยส่งเสริม ให้ประชาชน มีที่อยู่อาศัย เป็นของตนเอง และ ช่วยรักษาระดับ กิจกรรม ทางเศรษฐกิจ ผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง กับ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
ส่งเสริม การลงทุนภายในประเทศ อันจะก่อ ให้เกิด การจ้างงาน และ การผลิต ซึ่งสอดรับกับ มาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ การกำกับดูแล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และ สินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan to Value: LTV) ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย
เพื่อช่วยประคับประคองภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยบรรเทาปัญหาอุปทานคงค้างที่อยู่ในระดับสูง
อสังหาฯ ระบุ ลด ค่าธรรมเนียม โอน-จดจำนอง ไม่พอ
ต้องเพิ่มกำลังซื้อ “ต่างชาติ”
มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะ นายกสมาคมอาคารชุดไทย ได้กล่าว ขอบคุณมติ คณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่ระบุว่า มาตการดังกล่าว ไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นภาคอสังหาฯ หลังจากที่ ภาคอสังหาฯ ได้รับผลกระทบด้านความเชื่อมั่นจากสถานการณ์ “แผ่นดินไหว”
และ นโยบายการ ขึ้นภาษีศุลกากร สำหรับสินค้านำเข้า จากประเทศไทย ไปยัง สหรัฐอเมริกา เป็น 37% มีผลในวันที่ 9 เมษายน ของ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ มาตรการ การลดค่าธรรมเนียมการโอน และ จดจำนอง ดังกล่าวคงไม่เพียงพอ

โดย นายกสมาคมอาคารชุด ระบุว่า การแก้ปัญหา อสังหาริมทรัพย์ ในระยะยาว รัฐบาลต้อง ดำเนินนโยบาย เพิ่มกำลังซื้อโดย
1.การวางโครงสร้าง การถือครอง อสังหาของ ชาวต่างชาติ ผ่านสิทธิการเช่าไม่เกิน 60 ปี โดยมีสิทธิและ หน้าที่เสียภาษี อย่างโปร่งใส และ การจัดตั้ง กองทุนสนับสนุนบ้านผู้มีรายได้น้อย/ปานกลาง/หลังแรก ของคนไทย
2.จัดระเบียบ การอยู่อาศัยของ ชาวต่างชาติ ในประเทศไทย ในฐานะ ผู้พำนัก ควบคุมโดยคนไทย แบบเบ็ดเสร็จ
3.พัฒนา โครงการอสังหาฯ ในกลุ่ม นิคมการแพทย์ โรงพยาบาลในการรักษาโรค ศูนย์การพัฒนาการศึกษา Technician, Disney/Universal นอกเหนือจาก Entertainment Complex
4.เพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ สาธารณูปโภคภาครัฐ โดยเอกชน การเชื่อมต่อ และ การพัฒนามูลค่ามหาศาล ในเวลาที่กำหนด นายกสมาคมอาคารชุด กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/property-earth-01042025/
ที่มาของข้อมูล : www.moc.or.th
