

“พิธา-ก้าวไกล” ไม่รอด ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ แก้ ม.112 คือ ล้มล้าง การปกครอง พร้อมสั่งให้ พิธา-ก้าวไกล ห้ามพูด-เขียน-พิมพ์ และไม่ให้มี การแก้ไขมาตราดังกล่าวในอนาคตด้วย
วันที่ 31 มกราคม 2567 ที่ ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์พิจารณา คำร้องของ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความของอดีตพระพุทธะอิสระ ที่ขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคในขณะนั้น (ผู้ถูกร้องที่ 1) และ พรรค ก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 2)
มีนโยบาย เสนอแก้ มาตรา 112 เป็นการกระทำ ที่เข้าข่าย ใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขหรือไม่ ภายหลัง เมื่อช่วงเวลา 09.30 น. ที่ผ่านมา องค์คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ ประชุมปรึกษาหารือ และ ลงมติ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“พิธา & ก้าวไกล” ไม่รอด ศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามพูด เขียน พิมพ์ แก้ไข ม.112
โดยศาลรัฐธรรมนูญ ได้มี คำวินิจฉัย ว่า คดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้พิจารณา เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 และให้ผู้ถูกร้อง ชี้แจ้ง พร้อมขอเลื่อน 2 ครั้ง โดยศาล ได้รับฟังข้อมูล อย่างรอบด้านครบถ้วน แล้ว พบว่า
แม้การเสนอ ร่างแก้ไขมาตรา 112 จะเป็นหน้าที่ ของ สภาผู้แทนราษฎร และ ร่างกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้รับการบรรจุ ในสภา ก็ตาม
แต่ร่างกฎหมายนี้ กลับดำเนินการ โดยผู้ถูกร้อง ทั้ง 2 ทั้งสิ้น โดยผู้ถูกร้องทั้ง 2 ได้ร้องต่อศาล ว่า ได้เสนอต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อหาเสียงเลือกตั้ง ปี 2566 แล้ว
แต่ปัจจุบัน เนื้อหาดังกล่าว ยังมี การปรากฏอยู่ บนเว็บไซต์ ของ พรรคก้าวไกล และ เสนอเป็นนโยบาย ดังนั้น ถือได้ว่า พรรค ก้าวไกล และ พิธา เสนอแก้ไขมาตรา 112 เป็นพฤติการณ์ ที่แสดงออก เพื่อต้องการลดทอน อำนาจ พระมหากษัตริย์ ลงโดยอาศัย อำนาจทาง นิติบัญญัติ ผ่านทาง สภาผู้แทนราษฎร
นอกจากนี้ ยังมีพฤติการณ์ รณรงค์หาเสียง ผ่านรูปแบบของ พรรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้ประชาชนอาจหลงไปตามความคิดเห็นได้
อีกทั้ง การที่ พิธา และพรรคก้าวไกล ใช้เป็นนโยบายหาเสียงต่อเนื่อง เป็นการนำสถาบันลงมา เพื่อหวังผลทางคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง
ทำให้สถาบันเข้าไปเป็น ฝักฝ่ายในการรณรงค์ ทางการเมือง อันไม่อยู่ ในระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และ มีเจตนาเซาะกร่อน พระมหากษัตริย์ ให้อ่อนแอลง ดังนั้น ข้อโต้แย้งของทั้ง 2 จึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนข้อโต้แย้งที่ พิธา และ พรรคก้าวไกล แย้งว่า เป็นการกระทำ ให้ฐานะสภาผู้แทนราษฎร ไม่ตกอยู่ภายใต้ อาณัติพรรคการเมืองนั้น พบว่า ที่ผ่านมาการดำเนินการกลับอยู่ใน ฐานะพรรคก้าวไกลทั้งสิ้น
อีกทั้ง ผู้ถูกร้องทั้ง 2 ได้รณรงค์ ปลุกเร้ากับกลุ่มการเมือง ต่างๆ และ พบว่าเกี่ยวข้อง กับกลุ่ม “ยืนหยุดขัง” และยังพบว่า มีสมาชิกใ นพรรคก้าวไกลทั้ง ในอดีตและปัจจุบัน ได้เคย จัดชุมนุมยกเลิก มาตรา 112 โดยโพสต์ข้อความ ในเฟซบุ๊กส่วนตัว และ ยังมีพฤติการณ์ เป็น นายประกัน
รวมถึงยังพบว่ายังมี สส.ในพรรค มีคดีในมาตรา 112 อีกหลายคน
ผู้ถูกร้องทั้ง 2 จึงไม่อาจโต้แย้งได้ว่า เป็นการเห็นต่าง หรือ เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ ทางการเมือง เพราะ พฤติการณ์ ที่เข้าร่วมการชุมนุม หรือเป็น นายประกันให้ผู้ต้องหาตาม มาตรา 112 ย่อมแสดงให้เห็นว่า
พรรคผู้ถูกร้อง ต้องการเปลี่ยนแปลง แก้ไข และยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ อีกในการจัดกิจกรรม “คุณคิดว่ามาตรา 122 ควรยกเลิกหรือแก้ไข” นายพิธา ยังติดสติกเกอร์ยกเลิก และยังปราศรัยว่า “ประชาชนเสนอยกเลิกมาตรา 112 เข้ามา พรรคก้าวไกลจะเสนอให้มีการแก้ไขในสภาก่อน หากยังไม่มีการแก้ไข จะไปสู้ด้วยกันกับน้องๆ” แสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่จะยกเลิกมาตรา 112
ศาลรัฐธรรมนูญ จึงวางบรรทัดฐานว่า พระมหากษัตริย์ ทรงอยู่เหนือการเมืองและดำรงความเป็นกลางทางการเมือง การกระทำใดที่ถือเป็นการเซาะกร่อน ทำลายถือเป็นการล้มล้างการปกครอง อีกทั้งการแสดงสิทธิเสรีภาพต้องไม่ละเมิดบุคคลอื่นด้วย ต้องไม่กระทบต่อชาติ ความสงบเรียบร้อย และบุคคลอื่น แต่ผู้ถูกร้องทั้ง 2 มีการแสดงออกซ่อนเร้น โดยใช้ มาตรา112 และมีการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่องทำเป็นกระบวนการ ทั้งการชุมนุม การยื่นต่อสภา และใช้เป็นนโยบายการหาเสียง จึงไม่ไกลเกินเหตุที่จะล้มล้างการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 49 วรรค 1 ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าการแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นการล้มล้างการปกครอง และสั่งให้ทั้ง 2 เลิก การพูด การเขียน การพิมพ์ และไม่ให้มีการแก้ไขมาตรา 112 ในอนาคตด้วย
ในช่วงท้าย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุด้วยว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีผู้ที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่ขอให้ตระหนักว่า การวิจารณ์คำวินิจฉัยที่กระทำโดยไม่สุจริต และใช้ถ้อยคำหรือมีความหมายหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย จะมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 38 วรรคท้าย ซึ่งจะมีโทษทั้งตักเตือน จำคุก หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท”
ที่มาของข้อมูล : https://www.constitutionalcourt.or.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/colorful-bangkok-2023/

Editor's Pick
