BangkokX-Horizontal
สศช. ปรับลด คาดการณ์ เศรษฐกิจ ปี 67 เหลือ 2-3%
สศช. ปรับลด คาดการณ์ เศรษฐกิจ ปี 67 เหลือ 2-3%

สศช. ปรับลด คาดการณ์​ เศรษฐกิจ ไทย ปี 2567 เหลือ 2-3%   จาก เดิม ที่คาดการณ์ไว้ 2.2-3.2% ผลจาก เศรษฐกิจ ไตรมาสแรกปี 2567 เติบโตเพียง 1.5% ต่ำกว่า ที่คาดการณ์ไว้

สศช. ปรับลด คาดการณ์ เศรษฐกิจ ไทย นาย ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการ เศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพีไตรมาส 1/2567 และ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี2567 ว่า จีดีพีไทย ไตรมาส 1 ปีนี้ ขยายตัวได้ 1.5% เทียบกับ ระยะเดียวกัน ของปี 2566

และ ขยายตัว ได้ 1.1% เมื่อเทียบกับ ไตรมาส 4 ปี 2566 ที่มีอัตราการ ขยายตัวของ เศรษฐกิจไทย ที่ 1.7 %

จาก อัตราการเติบโตของ เศรษฐกิจใน ไตรมาสแรก ของปี 2567 ประกอบกับ

สถานการณ์ สงครามการค้า ที่เกิดขึ้น รวมถึง ปัญหาเรื่อง ภูมิรัฐศาสตร์ ที่รุนแรง

 สศช. ปรับลด คาดการณ์ เศรษฐกิจ ไทย  จากเดิม ที่คาดว่า จะเติบโต 2.2-3.2 %ลงมาอยู่ที่ 2-3 %

สำหรับ เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสแรก ปี 2567 นั้น นาย ดนุชา กล่าวว่า การขยายตัว เป็น ผลมาจาก

ภาคของการบริโภค และ การบริการ เป็นหลัก โดยเฉพาะ การบริโภคเอกชนที่ ขยายตัวได้ 6.9 %

ขณะที่ ภาคการส่งออก ขยายตัวได้ เพียง 2.5 % ส่วน การลงทุนรวม ของประเทศ ในภาคเอกชน ขยายตัวได้ 4.6 %

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยใน ไตรมาสที่แรก ยังถูกกดดันจาก การลงทุน ของภาครัฐ ที่การลงทุนรวม ลดลง 27.7  % ซึ่ง

เป็น ผลมาจากความล่าช้า ของการเบิกจ่าย งบประมาณ ปี 2567

ทั้งนี้ สศช. คาดว่า ในช่วงที่เหลือ ของปี 2567 ภาคการส่งออก จะมีแนวโน้ม ปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่า ปีนี้ ภาคการส่งออก จะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2%  และ ประเทศไทย ยังคงต้อง ปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อการผลักดัน การผลิตใน ภาคอุตสาหกรรม ของไทยให้เพิ่มขึ้น

ขณะที่การลงทุนรวม คาดว่าจะ ขยายตัวได้ 1.9 % โดยเป็น การลงทุน ของเอกชน 3.2 % ลดลงจากคาดการณ์ ครั้งก่อนที่ คาดการณ์ว่า จะขยายตัวได้ 3.5 % และ การลงทุน ภาครัฐ ยังคาดว่าจะลดลง 1.8  %

สศช. ปรับลด คาดการณ์ เศรษฐกิจ ปี 67 เหลือ 2-3%
สศช. ปรับลด คาดการณ์ เศรษฐกิจ ปี 67 เหลือ 2-3%

สศช. ปรับลด การคาดการณ์ เศรษฐกิจ “หนี้ครัวเรือน” เป็น ปัจจัยเสี่ยง

นาย ดนุชา กล่าว เพิ่มเติมว่า นอกจาก ปัจจัยเสี่ยง ที่เกิดจาก สงคราม การค้า และ ปัญหาด้าน ภูมิรัฐศาสตร์ ที่กระทบ กับ ภาค การส่งออก การลงทุน และ การท่องเที่ยว แล้ว

เศรษฐกิจไทย ยังมี ปัจจัยเสี่ยง เรื่องของการมี หนี้ครัวเรือนที่สูง ความเสี่ยงเรื่อง ของ ปัญหาอุทกภัย รวมทั้ง การขนส่งสินค้า ทางเรือ ที่ต้องเผชิญกับ การขนส่ง ที่ยากลำบาก ซึ่งทำให้ ค่าระวางเรือแพงขึ้น

ขณะที่เรื่องของ อัตราดอกเบี้ย นโยบาย ยังไม่ สามารถที่จะ ปรับลดลง ได้ เนื่องจาก หลายประเทศ ยังคง ดอกเบี้ย ระดับสูง ประกอบกับ

การมี มาตรการ กีดกัน ทางการค้า ที่เข้ามาทุ่ม ตลาดในไทย ซึ่งเหมือนกับในปี 2562 ที่มีปัญห าเรื่อง ของ การกีดกัน ทางการค้า ที่ทำให้มี สินค้าจีน เข้ามาตีตลาดไทย

“ปัจจัย เหล่านี้ เป็น ปัจจัย กดดัน ที่ทำให้ สศช. ปรับลด การคาดการณ์ การเติบโต ของ เศรษฐกิจ ไทย ในปี 2567

พร้อม แนะนำ ให้รัฐบาล เร่ง เบิกจ่าย งบประมาณ เพื่อให้เป็น กลไก ในการ ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ

รวมทั้ง แก้ไขปัญหา สภาพคล่อง ให้กับ ภาคธุรกิจ ขนาดกลาง และ เล็ก รวมไปถึง การ แก้ไข ปัญหา หนี้ครัวเรือน เพื่อกระตุ้น ภาคการใช้จ่าย ของ ไทย ในอนาคต” นาย ดนุชา กล่าว

ที่มาของข้อมูล : https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13214&filename=QGDP_report

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

https://bangkokx.me/thai-economy-worldbank-03042024/

 

Ellipse 1
กองบรรณาธิการ Bangkok X

บทความที่เกี่ยวข้อง