
“สภาพัฒน์” ปรับลด คาดการณ์ เศรษฐกิจไทย ปี 2566 มาอยู่ที่ 2.5% หลังจากที่ อัตราการเติบโต ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศ(Gross Domestic Product:GDP) ไตรมาสสาม เติบโต ต่ำกว่า ที่คาดไว้ 2.0-2.2% มาอยู่ที่ 1.5 % ทำให้ 9 เดือนแรก เศรษฐกิจไทย เติบโต เพียง 1.9%

เลขาธิการ สภาพัฒนาการ เศรษฐกิจ และ สังคม แห่งชาติ(สศช.) ดนุชา พิชยนันท์ แถลง อัตราการเติบโต ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสสาม ปี 2566 ว่า
เศรษฐกิจไทย ในไตรมาส ที่ผ่านมา ขยายตัว ได้ 1.5 % ชะลอลง จาก 1.8 % ใน ไตรมาสที่สอง ของปี 2566 ซึ่งต่ำกว่า ที่คาดการณ์ ไว้ว่า จะเติบโต ที่ 2-2.2 %
เป็นผลมาจาก ภาคการส่งออก โดยรวม ชะลอตัว ในขณะที่ การใช้จ่าย ของภาครัฐ ยังคงลดลง ซึ่งเป็น ผลมาจาก การลดลง ของ การใช้จ่าย ด้านการสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้อง กับ โรคติดเชื้อ โคโรนาไวรัส 2019
ในขณะที่ ภาค การท่องเที่ยว การอุปโภคบริโภค ของครัวเรือน และ ภาค การลงทุน ยังคง เติบโต อย่างต่อเนื่อง
โดย ด้าน การลงทุนรวม ขยายตัว 1.5 % จาก การขยายตัว 0.4 % ในไตรมาสสอง ของปี 2566 เป็นการ ลงทุน ภาคเอกชน ในไตรมาสสาม ของ ปี 2566 ขยายตัว 3.1 % เร่งขึ้น จาก การขยายตัว 1.0% ใน ไตรมาสสอง ของปี 2566
เป็น การขยายตัว ทั้งด้าน การก่อสร้าง และ ด้านเครื่องจักร เครื่องมือ ทำให้ เศรษฐกิจไทย ในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2566 มี อัตราการเติบโต ที่ 1.9%
“สภาพัฒน์” ปรับลด คาดการณ์ เศรษฐกิจไทย ปี 2566 มาอยู่ที่ 2.5%
จาก สถานการณ์ ดังกล่าว ดนุชา กล่าวว่า สภาพัฒน์ฯ ได้มีการ ปรับลด การคาดการณ์ แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ในปี 2566 จะขยายตัว เพียง 2.5%
ลดลงจาก ครั้งก่อน ที่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทย ปี 2566 จะเติบโต ในช่วง 2.5-3.0 % ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อ คาดว่า จะอยู่ที่ 1.4 % และ ดุลบัญชีเดินสะพัด จะเกินดุล 1.0% ของ GDP
คาดปี 67 เติบโต 2.7-3.7%
ขณะที่ ประมาณการ แนวโน้ม เศรษฐกิจไทย ปี 67 ขยายตัว ในช่วง 2.7-3.7 %
โดยมี ปัจจัย สนับสนุน จากการ กลับมา ขยายตัวของ การส่งออก การขยายตัว ในเกณฑ์ดี ของ การบริโภค และ การลงทุน ภาคเอกชน
และ การฟื้นตัว อย่างต่อเนื่อง ของ ภาค การท่องเที่ยว ทั้งนี้ คาดว่า การบริโภค และ การลงทุน ภาคเอกชน จะขยายตัว 3.2% และ 2.8% ตามลำดับ
มูลค่า การส่งออก สินค้า ในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 3.8% ส่วน อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไป เฉลี่ย อยู่ในช่วง 1.7 – 2.7 % ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 1.5% ของ GDP
Fitch คงเรตติ้ง ไทย BBB+
ในขณะที่ ก่อนหน้านี้ Fitch Rating ปรับลด ประมาณการณ์ เติบโต ของ เศรษฐกิจไทย ปี 2566 จาก 4.2% มาอยู่ที่ 2.8% และ คาดการณ์ เศรษฐกิจไทยปี 2567 จะเติบโต ที่ 3.8%
โดยคง เครดิตเรตติ้ง ของ ประเทศไทย ที่ BBB+ พร้อมระบุ ว่า ปัจจัยเสี่ยง ของ ประเทศไทย อยู่ที่ ภาระ หนี้สาธารณะ ที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น
ปัจจัยเสี่ยง ทางการคลัง จาก นโยบาย ของรัฐบาล ยังมี ผนวกกับ ภาระ หนี้ครัวเรือน ยังคงอยู่ใน ระดับสูง
เช่นเดียวกับ กองทุน การเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ปรับลด ประมาณการณ์ เติบโต ของเศรษฐกิจไทย ปี 2566 จาก 3.4 % ลงมาอยู่ที่ 2.7%
โดยที่ สถานการณ์ สงคราม ระหว่าง อิสราเอล – ฮามาส อาจส่ง ผลกระทบ กับ ระดับราคาน้ำมัน ในตลาดโลก ที่จะปรับตัว สูงขึ้น ทำให้ ต้นทุนพลังงานมี แนวโน้ม ปรับตัวสูงขึ้น ในช่วง ปลายปี 2566 ถึงต้นปี 2567
ที่มาของข้อมูล : https://www.nesdc.go.th/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/economic-2024-24012024/

Editor's Pick
