BangkokX-Horizontal
'หมูเด้ง' ติด Hot Search
“หมูเด้ง” ติด Hot Search

‘หมูเด้ง’ ติด Hot Search Google ยืนยัน ‘หมูเด้ง’ ฉุดไม่อยู่ บูมยอดค้นหา Moo Deng เวิลด์ไวด์ ฮิตยันสหรัฐ

‘หมูเด้ง’ ติด Hot Search รายงานล่าสุดจาก Google Search Engine โพสต์ Facebook ยืนยันความโด่งดัง ของ “หมูเด้ง” หรือ Moo Deng ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่า

“We love Moo Deng พาส่องข้อมูลเสิร์ชเทรนด์ #moodeng ทั่วโลกในช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ฉุดไม่อยู่แล้วจริง ๆ ดู Search Trend  #moodeng เพิ่มเติมที่นี่ https://bit.ly/3Zz7lvT

ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า คำค้นหาเกี่ยวกับ “หมูเด้งW ประกอบด้วย หมูเด้ง, Moo Deng , baby hippo, pygmy hippo

ซึ่งคำว่า “หมูเด้ง” จะค้นหา มากที่สุด ใน 5 ประเทศ ได้แก่  1.ไทย  2.ลาว  3.กัมพูชา  4.ญี่ปุ่น และ 5.ออสเตรเลีย

โดยส่วนมาก จะสนใจ ค้นหา เกี่ยวกับเรื่อง การ Live หมูเด้ง, หมูเด้งนอนหลับขี้มูกโป่ง, Zoodio Live

ขณะที่คำว่า “moo deng” จะค้นหามากที่สุด ใน 5 ประเทศ ได้แก่ 1.สิงคโปร์  2.สหรัฐอเมริกา 3.ไทย  4.แคนาดา 5.ออสเตรเลีย

โดยส่วนมากจะสนใจค้นหาเกี่ยวกับ Hippo Baby, Moo deng meaning (หมูเด้งหมายถึงอะไร)

ขณะเดียวกัน ต่อประเด็นที่ว่า หมูเด้ง ดังมากใน สหรัฐอเมริกา สื่อหลายสำนัก ได้นำเสนอ ความน่ารัก

กระทั่งได้ขึ้น จอยักษ์ ในสนามกีฬามิชิแกนนั้น ในยอดการค้นหา ก็สอดคล้อง พบว่าใน สหรัฐอเมริกา ยอดค้นหาคำว่า Moo Deng มากที่สุดใน 5 พื้นที่ ได้แก่  เนวาดา ออริกอน มินนิโซตา แคลิฟอร์เนีย และ วอชิงตัน ตามลำดับ

ขอบคุณคลิปวีดีโอ จาก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

“หมูเด้ง” ติด  Hot Search

มารู้จัก  ฮิปโปแคระ กัน

“หมูเด้ง” (Moo Deng) เป็น ฮิปโปแคระ (Pygmy Hippopotamus) ที่เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2567

เป็นลูกแม่โจนา และ พ่อโทนี่ เป็นหลาน ยายมะลิ ฮิปโปแคระ ที่มีอายุ 59 ปี เป็นฮิปโปแคระที่อายุยืนที่สุดในประเทศไทย  เพิ่งฉลองวันเกิดยายมะลิ ไปเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

 

ฮิปโปแคระ มีนิสัยยังไง “BangkokX108” รวบรวมมาให้อ่านกัน รัก “หมูเด้ง” แล้ว ต้องรู้ว่า “หมูเด้ง” มีนิสัยยังไง นอกจาก “ความเด้ง” แล้ว มีอะไรให้น่าติดตามกันไปอ่านกันเลย

1.ฮิปโปแคระ (Pygmy Hippopotamus) เป็นญาติห่าง ๆ ของฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamus) มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตก

โดยจำนวนฮิปโปแคระในปัจจุบันคาดว่าเหลืออยู่ในป่าทั่วโลกประมาณ 2,000 – 3,000 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในไลบีเรีย ขณะที่ในเซียร์ราลีโอน กินี และไอวอรีโคสต์มีจำนวนน้อยกว่า

2.ฮิปโปแคระ (Pygmy Hippopotamus) ความยาวจากปลายจมูกถึงโคนหาง 1.5 – 1.75 เมตร ความสูงช่วงไหล่ 75 – 100 เซนติเมตร

เมื่อโตเต็มวัยจะมีน้ำหนักสูงสุดประมาณ 600 ปอนด์ (ประมาณ 270 กิโลกรัม) ขณะที่ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamus) จะมีน้ำหนัก 4.5 ตัน (4,500 กิโลกรัม)

3.ฮิปโปแคระ (Pygmy Hippopotamus) มีลักษณะนิสัยชอบอยู่สันโดษ (อยู่เดี่ยวหรืออยู่คู่) ต่างจากฮิปโปโปเตมัสที่อาศัยอยู่เป็นฝูงประมาณ 40 – 200 ตัว

4.ลูกฮิปโปแคระ (Pygmy Hippopotamus) แรกเกิดจะมีน้ำหนักเพียง 10 – 14 ปอนด์ (4.5 – 6.4 กิโลกรัม) ลูกฮิปโปแคระ จะอยู่กับแม่ จนกระทั่งหย่านม

โดยจะซ่อนตัวอยู่ใกล้ ๆ น้ำ ในขณะที่แม่ออกไปหาอาหาร และลูกฮิปโปแคระจะหย่านมเมื่ออายุได้ 6 – 8 เดือน ทั้งนี้ฮิปโปแคระ (Pygmy Hippopotamus) จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ในช่วงอายุ 3 – 5 ปี โดยผสมพันธุ์ทั้งบนบกและในน้ำ

5.เหงื่อของ “ฮิปโปโปเตมัส” (Hippopotamus) เป็นของเหลวสีแดงคล้ายสีของเลือด แต่ไม่ได้มาจากเลือด โดยผลิตจากต่อมใต้ผิวหนัง

มีลักษณะเหนียวหนืด ไม่ระเหยเหมือนเหงื่อของสัตว์อื่น ๆ แต่จะเคลือบอยู่บนผิวของฮิปโปฯ ทำหน้าที่คล้ายครีมกันแดด ปกป้องอันตรายจากแสงแดด และดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต แต่ฮิปโปแคระ (Pygmy Hippopotamus) เหงื่อสีใสไม่แดงเหมือนฮิปโปฯ

6.อายุขัยที่แน่นอนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าฮิปโปแคระ (Pygmy Hippopotamus) จะมีอายุระหว่าง30 – 50 ปี

7.ฮิปโปแคระ (Pygmy Hippopotamus) จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ระดับ Regionally Extinct: RE ตามการจัดอันดับของIUCN Red List

เนื่องจากสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยเนื่องจากการทำลายป่าและการล่าเพื่อเนื้อและชิ้นส่วนต่าง ๆ

8.“ฮิปโปโปเตมัส” (Hippopotamus) มีอีกชื่อเรียก คือ “ม้าน้ำ” โดยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกโบราณ โดยคำว่า “ฮิปโปฯ” (Hippos) แปลว่าม้า ที่มองไปมองมา อาจจะคล้ายคลึงกับ ตัวฮิปโปฯ อยู่บ้าง

ส่วนคำว่า “โปตามอส” (potamos) หรือที่เราคุ้นว่าโปเตมัสนี้ มาจากคำว่าแม่น้ำ เมื่อรวมกลุ่มคำกันจึงแปลว่า “ม้าแม่น้ำ” หรือ “ม้าน้ำ” ดังนี้สายพันธุ์ของ “หมูเด้ง” (Moo Deng) จึงน่าจะถูกเรียกว่า “ม้าน้ำแคระ”

9.ฮิปโปแคระที่กำลังโด่งดังเป็นไวรัลมีชื่อไทยว่า “หมูเด้ง” (Moo Deng) และยังมีชื่อกัมพูชาด้วยว่า “กระเด้ง จรุก” แปลเป็นไทยว่า “หมูกระเด้ง” (ที่มาชื่อหมูเด้งกัมพูชา : สวนสัตว์เปิดเขาเขียว Khao Kheow Open Zoo)

“หมูเด้ง” ติด Hot Search
“หมูเด้ง” กับ แม่โจนา ขอบคุณภาพจาก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

เหงื่อ “สีแดง” ของ “หมูเด้ง” คือ อะไร?

นอกจาก 9 ข้อควรรู้แล้ว มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ “หมูเด้ง” หรือ “ฮิปโปแคระ” มาเล่าสู่กันอ่าน ด้วยนะ จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2475 (ผู้เขียนยังไม่เกิดเลย) พบว่า “ฮิปโปโปเตมัส” (Hippopotamus) มีเหงื่อสีแดง

โดย “ฮิปโปโปเตมัส” (Hippopotamus) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ฮิปโปฯ” (Hippopotamus amphibius) เป็นสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีผิวหนังหนา ซึ่งเต็มไปด้วยขนเส้นเล็ก กระจายอยู่ห่าง ๆ ปกคลุมทั่วทั้งตัว

ขนเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจากแสงแดดเช่นเดียวกับขนของสัตว์อื่น ๆ แต่ทำหน้าที่เป็นอวัยวะรับสัมผัสที่ไวต่อความแห้ง และแสงแดด และหากสังเกตให้ดี จะพบว่าเหงื่อของฮิปโปฯ เป็นของเหลวสีแดง คล้ายสีของเลือด

สีแดงที่เห็นไม่ได้มาจากเลือด แต่เป็นกลไกอย่างหนึ่งที่ช่วยปกป้องผิวของฮิปโปฯ ไม่ให้แห้งและถูกเผาจากแสงแดด ทั้งยังช่วย ควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตัวฮิปโปฯ

“เหงื่อสีแดง” นี้ผลิตจากต่อมใต้ผิวหนัง มีลักษณะเหนียวหนืด ไม่ระเหยเหมือนเหงื่อของสัตว์อื่น ๆ แต่จะเคลือบอยู่บนผิวของฮิปโปฯ ทำหน้าที่คล้ายครีมกันแดด ปกป้องอันตรายจากแสงแดด และดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet Radiation หรือ UV)

โดยเริ่มแรกเหงื่อของฮิปโปฯ ไม่มีสี แต่ภายในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากหลั่งเหงื่อออกมา เหงื่อจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง จากนั้นโมเลกุลของเม็ดสีหลายโมเลกุลจะมารวมเข้าด้วยกัน (Pigment polymerizes) ทำให้เหงื่อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในที่สุด

"หมูเด้ง" กับ แม่โจนา
หมูเด้ง ของคุณภาพจาก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

โดย นักวิทยาศาสตร์พบว่า แท้ที่จริงแล้วเหงื่อสีแดงของฮิปโปฯ ไม่ใช่เหงื่อ แต่เป็นสารประกอบ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ที่ไม่มีวงเบนซีน (Non-benzenoid aromatic) 2 ชนิด

 โดยชนิดแรกเป็น สารสีแดง เรียกว่า กรดฮิปโปซูโดริก (Hipposudoric acid) และ ชนิดที่สอง เป็นสารสีส้ม เรียกว่า กรดนอร์ฮิปโปซูโดริก (Norhipposudoric acid) เคลือบอยู่บน ผิวหนัง ที่ไม่เพียง ทำหน้าที่ ป้องกันแสงแดด

แต่ยังทำหน้าที่เป็นยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค รวมถึง บาดแผลของฮิปโปฯ ไม่ให้เกิดการติดเชื้อจนเกิดอันตรายถึงชีวิต เพราะฮิปโปฯ เป็นสัตว์ที่มักต่อสู้อยู่ตลอดเวลา บางครั้งเกิดการบาดเจ็บ และเกิดบาดแผลขนาดใหญ่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทั้งทางอากาศ และน้ำ

รู้จัก “หมูเด้ง” กันแล้ว อย่าลืมไปเยี่ยมกันที่ “สวนสัตว์เปิดเขาเขียวนะครับ หรือจะติดตาม Live ได้ที่ แพลตฟอร์ม

https://www.zoodio.live/

ที่มาของข้อมูล: https://trends.google.co.th/trends/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: https://bangkokx.me/colour-trend-2024-16062024/

ขอบคุณคลิปจาก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

Ellipse 1
กองบรรณาธิการ Bangkok X

บทความที่เกี่ยวข้อง