
Krungthai COMPASS ระบุ PDP ฉบับใหม่ สนับสนุนให้เกิด การลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะ โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และ โรงไฟฟ้าชีวมวล
คาด เอกชนมีการลงทุน กว่า 1.7 ล้านล้านบาท ในปี 2567-2580 หนุนรายได้แตะ 2.9 แสนล้านบาท ในปี 2580
ดร.สุปรีย์ ศรีสำราญ ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เปิดเผยว่า แผนพัฒนา กำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ พีดีพี (PDP) ฉบับใหม่ ให้ความสำคัญ กับ ความมั่นคงของ ระบบไฟฟ้า และ ลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากกระบวน การผลิตไฟฟ้า
เพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย ความเป็นกลาง ทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 ทำให้ ภาครัฐสนับสนุน การลงทุน โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และ ระบบบริหารจัดการไฟฟ้า มากขึ้น
โดยเฉพาะ โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้า พลังงานลม และ โรงไฟฟ้า ชีวมวล ที่ ภาครัฐ มีแนวโน้ม เปิดโอกาสให้ ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน มากขึ้น
โดยคาดว่า กำลังการผลิตไฟฟ้า ของโรงไฟฟ้า ทั้ง 3 ประเภท จะขยายตัว 14.5% ต่อปี มาอยู่ที่ 48,666 เมกะวัตต์ในปี 2580 ซึ่งคิดเป็น 43% ของ กำลังการผลิตไฟฟ้า ทั้งหมด
ช่วย ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน จากกระบวนการ ผลิตไฟฟ้า ได้ถึง 27.5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (MtCO2e) คิดเป็น 57% ของ เป้าหมาย Carbon Neutrality ซึ่งยังอยู่ ในระดับที่ สามารถบรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว ภายในปี 2593

Krungthai COMPASS ระบุ PDP ฉบับใหม่ – หนุนพลังงานหมุนเวียนเติบโต
พงษ์ประภา นภาพฤกษ์ชาติ นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า รายได้รวม ของธุรกิจโรงไฟฟ้า แสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้า พลังงานลม และ โรงไฟฟ้า ชีวมวล มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น จาก 1 แสนล้านบาท ในปี 2566 เป็น 2.9 แสนล้านบาท ในปี 2580
หรือ เติบโตเฉลี่ย ปีละ 7.9% ตาม กำลังการผลิตไฟฟ้า ของ โรงไฟฟ้าดังกล่าว
ซึ่งมาจาก การรับซื้อไฟฟ้า จาก กำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ ของภาครัฐ ทั้งหมด 39,693 เมกะวัตต์ ในช่วงปี 2567-2580 โดย แบ่งเป็น โรงไฟฟ้า แสงอาทิตย์ 30,412 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้า พลังงานลม 7,845 เมกะวัตต์ และ โรงไฟฟ้า ชีวมวล 1,436 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ การรับซื้อไฟฟ้า จาก โรงไฟฟ้า แสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้า พลังงานลม และ โรงไฟฟ้า ชีวมวล ของภาครัฐ ที่จะเกิดขึ้น ในช่วงปี 2567-2580 คาดว่า จะก่อให้เกิด เงินเม็ดลงทุน ในการก่อสร้าง ทั่วประเทศกว่า 1.7 ล้านล้านบาท
โดยแบ่งเป็น โรงไฟฟ้า แสงอาทิตย์ราว 1.1 ล้านล้านบาท โรงไฟฟ้า พลังงานลม 4.6 แสนล้านบาท และ โรงไฟฟ้าชีวมวล 1.3 แสนล้านบาท
โดยแต่ละพื้นที่ ของประเทศ จะมีการดึงดูด การลงทุนโรงไฟฟ้า ที่แตกต่างกันไป โดย ภาคเหนือ จะมีศักยภาพ ในการลงทุน โรงไฟฟ้า แสงอาทิตย์ มากที่สุด
เนื่องจาก ภาครัฐรับซื้อ ไฟฟ้า แสงอาทิตย์ จาก โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ ใน ภาคเหนือ มากที่สุด คิดเป็น สัดส่วน 30.5% ของ การรับซื้อไฟฟ้า พลังงาน แสงอาทิตย์ ทั้งประเทศ
ขณะที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาค ที่มีศักยภาพ ในการลงทุน โรงไฟฟ้า พลังงานลม มากที่สุด โดยภาครัฐ รับซื้อไฟฟ้า พลังงานลม จาก ภาคตะวันออกเหนือ เกือบทั้งหมด หรือ 92% ของ การรับซื้อ ไฟฟ้า พลังงานลม ทั้งหมด
สำหรับ การลงทุน โรงไฟฟ้า ชีวมวลนั้น ทุกพื้นที่ มีศักยภาพ ในการผลิต ขึ้นอยู่กับ ชนิดของ เชื้อเพลิง ที่นำมาใช้ ในการผลิตไฟฟ้า โดย ควรเลือก ใช้วัสดุ เหลือใช้ ในการเกษตร มาเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า
โดยโรงไฟฟ้า ชีวมวล ที่ตั้งใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และ ภาคกลาง ควรเลือกใช้ ใบ และ ยอดอ้อย และ ฟางข้าว เป็นเชื้อเพลิง ใน การผลิตไฟฟ้า
ขณะที่ โรงไฟฟ้า ชีวมวล ที่ตั้ง ในภาคใต้ ควรเลือก ใช้ผลพลอย จาก ปาล์ม เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า เพราะเป็น วัสดุที่เหลือใช้ ในภาค ดังกล่าว จำนวนมาก พงษ์ประภา กล่าว
ที่มาของข้อมูล:
https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_496PDP.pdf
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/interest-rate-22082024/

Editor's Pick
