
ญี่ปุ่น คงอันดับ ความน่าเชื่อถือ ไทย ที่ A และ คงมุมมอง ความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ที่ ระดับ มีเสถียรภาพ
พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Japan Credit Rating Agency Ltd (JCR) ได้คงอันดับ ความน่าเชื่อถือ ของ ประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ A และ คงมุมมอง ความน่าเชื่อถือ ของ ประเทศไทย (Outlook) ที่ ระดับมี เสถียรภาพ (Stable Outlook)
ญี่ปุ่น คงอันดับ ความน่าเชื่อถือ ไทย ที่ A
” ญี่ปุ่น คงอันดับ ความน่าเชื่อถือ ไทย โดยระบุว่าประเทศไทยมี อัตราการเติบโตที่ 2.5% ปี 2567 และ ยังคงมีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
แต่ยังคงมีข้อกังวล เรื่อง จำนวนแรงงานที่ลดลง และ ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น จะกระทบกับ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยของไทย ในระยะยาว พชร กล่าว
จากผลการ “คงอันดับ” ความน่าเชื่อถือ ดังกล่าว JCR มี รายละเอียด ที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับ การบริหารหนี้สาธารณะ ดังนี้
- JCR คาดว่า เศรษฐกิจไทย มีอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจ ที่แท้จริง (Real Gross Domestic Product (GDP) Growth) อยู่ที่ 2.5 % ในปี 2567
และ จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2568 อันเป็นผลมาจาก การดำเนินมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาล และ การปรับ ลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายการเงิน ที่จะเป็น แรงสนับสนุน การเติบโต ทางเศรษฐกิจ
รวมถึง การใช้จ่าย ของภาคเอกชน และ การส่งออกสินค้า เพิ่มขึ้น อีกทั้ง การฟื้นตัว ของ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างต่อเนื่อง
- แม้ว่า การขาดดุลทางการคลัง จะยังคงอยู่ ในระดับค่อนข้างสูง ที่ 4.5% ในปี 2568 ซึ่งเป็นผลส่วนหนึ่ง จากการดำเนิน นโยบายการคลัง แบบขยายตัว เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่รัฐบาลไทย ยังคงรักษาระดับ ฐานะการคลัง ให้อยู่ในระดับที่ดี (Good Fiscal Position) ส่งผลให้ ระดับหนี้สาธารณะ ต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Public Debt to GDP) อยู่ที่ 63.2% ในปี 2567
โดย JCR เชื่อว่า รัฐบาลจะสามารถ บริหารจัดการหนี้สาธารณะ เพื่อรักษาระดับ หนี้สาธารณะ ไม่ให้เกินกรอบเพดาน สัดส่วน หนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ 70%
อีกทั้งหนี้สาธารณะ ส่วนใหญ่เป็น การออก พันธบัตรรัฐบาล ภายในประเทศ และ สัดส่วน หนี้ต่างประเทศ ต่อ หนี้สาธารณะคงค้าง ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ที่ 1.0%
- JCR มองว่า รัฐบาลไทย ได้ใช้ มาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อส่งเสริม และ ดึงดูดการลงทุน
จากต่างประเทศ (Foreign Investments)
โดยเฉพาะการมุ่งเน้น การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน ในพื้นที่เศรษฐกิจ ที่สำคัญ อาทิ การลงทุนใน โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เพื่อ ผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Hub) ใน อุตสาหกรรม ยานยนต์ อุตสาหกรรม ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ถึงแม้ว่า ผลจากการดำเนิน นโยบายทางการค้า ของสหรัฐอเมริกา อาจจะส่งผลกระทบ ต่อ การลงทุน ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตดังกล่าว
แต่ยังคงเป็น ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ที่สำคัญ ที่จะช่วยสนับสนุน การเติบโตทางเศรษฐกิจ ต่อไป
- ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) มีความแข็งแกร่ง และ ทุนสำรองระหว่างประเทศ ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างต่อเนื่อง จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และ สามารถรองรับ ผลกระทบที่เกิดจาก ปัจจัยภายนอก (External Shocks) ได้
- ปัจจัยสำคัญที่ JCR จะติดตาม สำหรับพิจารณา การจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของประเทศไทย คือ อัตราการเกิดที่ลดลง และ การเพิ่มขึ้นของประชากร ผู้สูงอายุ อาจจะส่งผล ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศในระยะยาว
ที่มาของข้อมูล : https://www.jcr.co.jp/en/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/world-bank-03072024/
