
กนง. มีมติ 5:2 คง ดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% คาดเศรษฐกิจไทยปี 2567 เติบโต 2.5-3 % ไม่รวมดิจิตอลวอเล็ต

ปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สาย นโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5:2 คง อัตราดอกเบี้ย นโยบาย อยู่ที่ 2.50% ต่อปี ทั้งนี้ เศรษฐกิจ ไทย ในปี 2567 มี แนวโน้ม ขยายตัว ชะลอลง
จาก ภาค การส่งออก และ การผลิต เนื่องจาก อุปสงค์โลก และ เศรษฐกิจ จีน ฟื้นตัวช้า รวมถึง ปัจจัย เชิงโครงสร้าง กระทบ การขยายตัว ของ การส่งออก สินค้า อุตสาหกรรม และ การท่องเที่ยว มากกว่า ที่ ประเมินไว้
แต่ อุปสงค์ ในประเทศ ยังขยายตัว ต่อเนื่อง และ เป็นแรงขับเคลื่อน สำคัญ ของเศรษฐกิจ
ด้าน อัตราเงินเฟ้อ อยู่ใน ระดับต่ำ โดยมี แนวโน้ม ทยอย เพิ่มขึ้น เข้าสู่ กรอบเป้าหมาย ช้ากว่า ที่ประเมินไว้
คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจ ที่ขยายตัว ชะลอลง ในช่วงที่ ผ่านมา ส่วนใหญ่ เกิดจาก แรงส่ง จาก ภาคต่างประเทศ ที่น้อยลง และ ผลกระทบ จากปัจจัย เชิงโครงสร้าง แต่ การบริโภค ยังขยายตัวดี ต่อเนื่อง
กนง. มีมติ 5:2 คง ดอกเบี้ย ให้สอดคล้อง กับ เสถียรภาเศรษฐกิจ
ขณะที่ อัตราดอกเบี้ย ยังอยู่ในระดับที่ สอดคล้อง กับ การรักษา เสถียรภาพ เศรษฐกิจ และ การเงิน ซึ่งเป็น รากฐานสำคัญ สำหรับ การเจริญเติบโต ที่ยั่งยืน ในระยะยาว
คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่ จึงเห็นควร ให้ คง อัตราดอกเบี้ย นโยบาย ในการประชุม ครั้งนี้
ขณะที่ กรรมการ 2 ท่าน เห็นว่า ควรปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง
เศรษฐกิจไทย ในปลายปี 2566 ขยายตัว ชะลอลงกว่า คาด จากการ ส่งออกสินค้า และ การผลิต ที่ฟื้นตัวช้า ตาม ภาวะการค้าโลก และ สินค้าคงคลัง ที่อยู่ในระดับสูง
การเปลี่ยน พฤติกรรมของ นักท่องเที่ยว ต่างชาติ ที่ทำให้ รายรับต่อคน น้อยกว่า ในอดีต และ การลงทุนภาครัฐ ที่ลดลง ในช่วงที่ งบประมาณ รายจ่ายประจำปี ล่าช้า แรงส่งทาง เศรษฐกิจ ที่ลดลง ในช่วง ปลายปี 2566 ส่งผล ให้การขยายตัว ของเศรษฐกิจไทย ทั้งปี 2567 ปรับลดลง และ คาดว่า จะอยู่ใน ช่วง 2.5-3 %
โดย การบริโภค ภาคเอกชน และ ภาคการท่องเที่ยว ยังเป็น แรงขับเคลื่อน สำคัญ ขณะที่ การส่งออก และ การผลิต มีแนวโน้ม การขยายตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไป
ส่วนหนึ่ง จาก อุปสงค์โลก และ วัฏจักร สินค้า อิเล็กทรอนิกส์ ไทยที่ ฟื้นตัวช้า กว่าคาด
มองไปข้างหน้า ปัญหาเชิง โครงสร้างโดยเฉพาะ ด้านความสามารถ ในการแข่งขัน ของประเทศ จะเป็น อุปสรรค มากขึ้น หากไม่มี การปฏิรูปโครงสร้าง เศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป มีแนวโน้มปรับลดลงกว่าที่ประเมินไว้จากปัจจัยด้านอุปทาน ทั้งราคาอาหารสดและราคาพลังงาน รวมทั้งการขยายมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำในปัจจุบันไม่ได้บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอ โดยราคาสินค้าไม่ได้ปรับลดลงเป็นวงกว้างแต่สะท้อนปัจจัยเฉพาะในบางกลุ่มสินค้า และหากหักผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงเป็นบวก อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 มีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียง 1% ก่อนที่จะทยอยเพิ่มขึ้นในปีหน้า
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงเดิม ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่อาจส่งผลต่อราคาพลังงาน ผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ
ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง สำหรับการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้โดยรวมยังดำเนินการได้ตามปกติ แม้มีผู้ออกตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงบางรายระดมทุนทดแทนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน (rollover) ได้ไม่เต็มจำนวน คณะกรรมการฯ ให้ความสำคัญกับการดูแลคุณภาพสินเชื่อของ SMEs และครัวเรือนกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังฟื้นตัวช้า
โดยสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ผลักดันให้สถาบันการเงิน ดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการเฉพาะจุดและแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะมาตรการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)
ภาวะการเงินโดยรวมทรงตัว ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ใกล้เคียงเดิม ภาคธุรกิจและครัวเรือนโดยรวมยังได้รับสินเชื่อใหม่ต่อเนื่อง ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อลดลงเล็กน้อยจากการชำระคืนหนี้เป็นหลัก ผู้ประกอบการในภาพรวมยังสามารถชำระหนี้ได้ตามปกติ แม้การฟื้นตัวของรายได้เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต้นทุนวัตถุดิบอยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ดี กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กในบางอุตสาหกรรมอาจเผชิญภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวตามความระมัดระวังของสถาบันการเงิน ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 อ่อนค่าสอดคล้องกับสกุลเงินภูมิภาค ตามการคาดการณ์ทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐเป็นสำคัญ
ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ประเมินว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอลงเป็นผลมาจากปัจจัยต่างประเทศและปัญหาเชิงโครงสร้าง
ขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีแรงส่งต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมาย อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว อย่างไรก็ดี คณะกรรมการเห็นว่ายังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้าจากปัจจัยวัฏจักรเศรษฐกิจและปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าจะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ปิติ กล่าว
ที่มาของข้อมูล : https://www.bot.or.th/th/home.html
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/economic-2024-24012024/

Editor's Pick
