
อัตราเงินเฟ้อ มกราคม 67 ติดลบ 1.11% ต่อเนื่อง เป็นเดือน ที่ 4 ผลจาก มาตรการ ช่วยลด ค่าครองชีพ ด้านพลังงาน ของรัฐบาล และ ราคา สินค้าเกษตรปรับตัว ลดลง

อัตราเงินเฟ้อ มกราคม 67 ติดลบ พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงาน นโยบาย และ ยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนี ราคาผู้บริโภค ของไทย เดือน มกราคม 2567 เท่ากับ 106.98 เมื่อเทียบกับ เดือน มกราคม 2566 ซึ่ง เท่ากับ 108.18
ส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อ ม.ค. 67 ติดลบ 1.11 %(YoY) ลดลง ต่อเนื่อง เป็นเดือน ที่ 4 และ ต่ำสุด ในรอบ 35 เดือน ตาม การลดลง ของ ราคาสินค้า ในกลุ่มพลังงาน จาก มาตรการ ลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงาน ของ ภาครัฐ
ประกอบกับ ราคาสินค้า ใน กลุ่ม อาหารสด ยังคง ลดลง ต่อเนื่อง จากเดือน ที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ผักสด และ เนื้อสัตว์
เนื่องจาก ปริมาณ ผลผลิต เข้าสู่ ตลาด เพิ่มขึ้น รวมทั้ง ฐานราคา เดือน มกราคม 2566 ที่ใช้ คำนวณ เงินเฟ้อ ค่อนข้างสูง มีส่วน ทำให้ อัตราเงินเฟ้อ ลดลง สำหรับ สินค้า และ บริกา รอื่น ๆ ราคา เคลื่อนไหว ใน ทิศทางปกติ
อัตราเงินเฟ้อ ของไทย เมื่อเทียบกับ ต่างประเทศ ข้อมูล ล่าสุด เดือน ธันวาคม 2566 พบว่า อัตราเงินเฟ้อ ของไทย ลดลง 0.83% ซึ่งอยู่ ใน กลุ่ม ประเทศที่มี อัตราเงินเฟ้อ ต่ำ
โดยอยู่ ระดับต่ำ อันดับ 3 จาก 139 เขตเศรษฐกิจ ที่ประกาศ ตัวเลข และ ยังคงต่ำ ที่สุด ในอาเซียน จาก 7 ประเทศ ที่ประกาศ ตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย)
สำหรับ อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไป เฉลี่ยทั้ง ปี 2566 พบว่า ประเทศไทย สูงขึ้น เพียง 1.23 % อยู่ ระดับต่ำ อันดับที่ 9 จาก 139 เขต เศรษฐกิจ ที่ประกาศ ตัวเลข สอดคล้อง กับ อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไป ของ หลายประเทศ ที่มี ทิศทาง ชะลอตัว จาก ปี 2565 ค่อนข้าง ชัดเจน
อัตราเงินเฟ้อ มกราคม 67 ติดลบ 1.11% ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร ลดลง 1.13%
อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไป ที่ลดลง 1.11% (YoY) ใน เดือน มกราคม มี การเคลื่อนไหว ของ ราคาสินค้า และ บริการ ดังนี้
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ อาหาร และ เครื่องดื่ม ลดลง 1.13 % ตาม การลดลง ของ ราคาสินค้า ใน กลุ่มพลังงาน
ทั้งน้ำมัน ใน กลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ 91 E20 E85 และ ค่า กระแสไฟฟ้า เสื้อผ้า บุรุษ และ สตรี สิ่งที่เกี่ยวกับ การทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน)
นอกจากนี้ เครื่อง ใช้ไฟฟ้า ราคายังคง ลดลง อย่างต่อเนื่อง ตามการจัด โปรโมชัน เพื่อ กระตุ้น ยอดจำหน่าย ทั้ง เครื่องรับ โทรทัศน์ เครื่อง ซักผ้า และ ตู้เย็น
รวมถึง สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ ป้องกัน และ บำรุงผิว และ แชมพู สระผม ราคา ปรับลดลง เช่นกัน
สำหรับ สินค้า ที่ราคาสูง ขึ้นเล็กน้อย อาทิ แป้งทาผิวกาย กระดาษชำระ ค่าแต่งผมสตรี เครื่องถวายพระ ค่าทัศนาจรต่างประเทศ บุหรี่ สุรา และ ไวน์ ราคาเปลี่ยนแปลง ตามการจัด โปรโมชัน
อัตราเงินเฟ้อ มกราคม 67 ติดลบ หมวดอาหาร และ เครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอลล์ ลดลง 1.06%
ในขณะที่ หมว ดอาหาร และ เครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลง 1.06% ตาม การลดลง ของ ราคาสินค้า ในกลุ่ม เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และ สัตว์น้ำ (เนื้อสุกร ไก่สด ปลาทู กุ้งขาว ปลากะพง) ผักสด (มะเขือ มะนาว แตงกวา) และ ผลไม้ (ส้มเขียวหวาน ลองกอง มะม่วง)
เนื่องจาก ปริมาณผลผลิต เข้าสู่ ตลาด จำนวนมาก สำหรับ สินค้าที่ ราคาสูงขึ้น เล็กน้อย อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ขนมอบ นมถั่วเหลือง นมเปรี้ยว กะทิสำเร็จรูป น้ำพริกแกง กาแฟ ผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง)
ดัชนี ราคาผู้บริโภค เดือน มกราคม 2567 เมื่อเทียบกับ เดือน ธันวาคม 2566 สูงขึ้น 0.02 % (MoM) ตาม การสูงขึ้น ของ หมวดอื่น ๆ ที่ ไม่ใช่อาหาร และ เครื่องดื่ม 0.28%
โดย ราคา น้ำมันเชื้อเพลิง ปรับสูงขึ้น เป็นครั้งแรก หลังจากที่ ลดลง ติดต่อ กัน 4 เดือน ซึ่ง ปรับสูงขึ้น ทั้ง กลุ่ม น้ำมันเบนซิน และ แก๊สโซฮอล์
นอกจากนี้ ค่า กระแสไฟฟ้า ค่า โดยสารร ถจักรยานยนต์ รับจ้าง ค่าโดยสาร เครื่องบิน ค่าใช้จ่าย ส่วนบุคคล (โฟมล้างหน้า น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ ป้องกัน และ บำรุงผิว) ราคาปรับ สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมี สินค้าที่ ราคาปรับลดลง อาทิ เสื้อ และ กางเกงสตรี อาหารสัตว์เลี้ยง และ เครื่องรับ โทรศัพท์มือถือ
ขณะที่ หมวด อาหาร และ เครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลง 0.31% ตามการลดลง ของ ข้าวสารเหนียว ขนมปังปอนด์ ไข่ไก่ นมเปรี้ยว ผักสด และ ผลไม้ (มะเขือเทศ ผักคะน้า พริกสด ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก กล้วยน้ำว้า)
สำหรับสินค้า ที่ราคาสูง ขึ้น เล็กน้อย อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ปลานิล กะทิ สำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร น้ำหวาน กาแฟ / ชา (ร้อน / เย็น) ข้าวแกง / ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว และ อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง)
อัตราเงินเฟ้อ มีแนวโน้ม ลดลง เดือนกุมภาพันธ์ 2567
ในขณะที่ แนวโน้ม อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไป เดือน กุมภาพันธ์ 2567 มีแนวโน้ม ลดลง ต่อเนื่อง โดยมี ปัจจัย สนับสนุน จาก
(1) มาตรการ ลดค่าครองชีพ ด้านพลังงาน ได้แก่ การตรึงราคา ค่ากระแสไฟฟ้า ในอัตรา ไม่เกิน 3.99 บาท ต่อ หน่วย สำหรับ ครัวเรือน ที่ใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 300 หน่วย ต่อ เดือน ซึ่งมี ประชาชน ได้รับ ประโยชน์ 17.77 ล้านราย
และ มาตรการ ตรึงราคา น้ำมันดีเซล ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร จนถึง วันที่ 19 เมษายน 2567
และ (2) ผลกระทบ ของ ปรากฏการณ์ เอลนีโญ ลดลง และ บางพื้นที่ มีอุณหภูมิ ลดลง ทำให้ ปริมาณ ผักสด เข้าสู่ ตลาดมากกว่า ปีก่อนหน้า ส่งผล ให้ราคา มีแนวโน้ม ลดลง ต่อเนื่อง
อย่างไร ก็ตาม มีปัจจัย ที่ทำให้ อัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น ได้แก่
(1) สถานการณ์ ความขัดแย้ง ใน ตะวันออกกลาง ที่ยังยืดเยื้อ ทำให้ ค่าระวางเรือ และ สินค้า โภคภัณฑ์ ที่สำคัญ ปรับตัว สูงขึ้น
(2) เงินบาทมี แนวโน้ม อ่อนค่า ส่งผลให้ ราคาสินค้า นำเข้า สูงขึ้น
(3) ราคาสินค้า เกษตร ปรับตัวสู งขึ้น ทั้งจาก ความต้องการ เพิ่มขึ้น และ การปรับราคา เพื่อให้มี ความสมดุล และ เป็นธรรม กับ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดห่วงโซ่ อุปทาน
และ (4) การขยายตัว ต่อเนื่อง ของ ภาค การท่องเที่ยว หลังจาก ภาครัฐ มีนโยบาย อำนวย ความสะดวก ในการเดินทาง มาประเทศไทย ของ นักท่องเที่ยว และ นักธุรกิจ ประเทศต่าง ๆ
ส่งผล ให้อุปสงค์ และ ราคาสินค้า ในหมวด ที่เกี่ยวข้อง กับ ภาค การท่องเที่ยว ปรับตัวสูงขึ้น
คาด อัตราเงินเฟ้อทั้งปี อยู่ที่ 0.7%
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังคง คาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่าง (-0.3) % – 1.7 %(ค่ากลาง 0.7%)
ซึ่งเป็น อัตราที่ สอดคล้อง กับ สถานการณ์ เศรษฐกิจ ในปัจจุบัน และ หาก สถานการณ์ เปลี่ยนแปลง อย่างมี นัยสำคัญ จะมี การทบทวน อีกครั้ง
ดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยรวม เดือน มกราคม 2567 ยังอยู่ใน ช่วงความเชื่อมั่น โดยปรับ ลดลง เล็กน้อย มาอยู่ ที่ระดับ 54.5 จาก ระดับ 54.8 ในเดือน ก่อนหน้า
เป็น การปรับลดลง ทั้ง ดัชนี ความเชื่อมั่น ผู้บริโภค ในปัจจุบัน และ ในอนาคต ( 3 เดือนข้างหน้า )
ปัจจัยบวกที่ ส่งผลให้ ดัชนีฯ ยังอยู่ ในช่วง ความเชื่อมั่น (ดัชนีฯ มีค่า ตั้งแต่ ระดับ 50 ขึ้นไป) คาดว่า มาจาก ราคา สินค้าเกษตร สำคัญ หลาย รายการปรับตัว ดีขึ้น
โดยเฉพาะ ปาล์มน้ำมัน และ ยางพารา ประกอบกับ ภาครัฐ ดำเนิน มาตรการ ลดค่าครองชีพ อย่างต่อเนื่อง ทั้ง การปรับลด ค่าไฟฟ้า และ การตรึงราคาน้ำมันดีเซล
นอกจากนี้ ภาค การส่งออก และ การท่องเที่ยว ของไทย ปรับตัว ดีขึ้น ตามลำดับ ส่วน ปัจจัย กดดัน ที่ทำให้ ดัชนีฯ ปรับลดลง เล็กน้อย อาทิ
ปัญหาหนี้สินในครัวเรือน และ รายได้ที่ยัง ไม่สอดคล้อ งกับ ค่าครองชีพ เท่าที่ควร
ที่มาของข้อมูล : https://www.moc.go.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/imf-economy-18042024/
