
“เงินเฟ้อ” ขยับ บอก อะไรเราบ้าง? รายงานล่าสุด ของ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไป เดือน พฤษภาคม 2567 ปรับตัวขึ้นมา เป็นบวก เป็นเดือนที่ 2 โดยมี อัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ 1.54% เทียบกับ เดือน พฤษภาคม 2566
ซึ่งเป็น ผลมาจาก ฐานที่ต่ำ จาก ราคา พลังงาน ตาม ค่ากระแสไฟฟ้า และ ราคาน้ำมัน กลุ่มเบนซิน และ การเร่งตัวขึ้น ของ ราคาอาหารสด จาก ราคาผัก ผลไม้ และ ไข่ไก่
เนื่องจาก สภาพอากาศร้อน ทำให้ ปริมาณ ผลผลิต ออกสู่ ตลาดน้อยลง
การปรับสูงขึ้น ของ อัตราเงินเฟ้อ ในเดือนพฤษภาคม ดังกล่าว ทำให้ อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไป 5 เดือนแรก ของปี อยู่ที่ -0.13%YoY
ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐาน อยู่ที่ 0.42%YoY
ในขณะที่ ล่าสุด Krungthai COMPASS ส่วนงานวิจัย และ วิเคราะห์เศรษฐกิจ ของ ธนาคาร กรุงไทย คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อ ของไทย เฉลี่ยทั้งปี จะอยู่ที่ ระดับ 0.8% เพิ่มขึ้น ตาม ต้นทุน ราคาสินค้า ที่ปรับตัวสูงขึ้น
“เงินเฟ้อ” ขยับ บอก อะไรเราบ้าง?
ก่อนอื่น เราต้อง ทำความเข้าใจก่อนว่า เงินเฟ้อ หรือ การที่ ราคาสินค้า และ บริการ ปรับตัว สูงขึ้น มาจาก 2 สาเหตุ
สาเหตุ แรก คือ ต้นทุน การผลิตที่สูงขึ้น หรือ ที่ นัก เศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Cost Push ต้นทุน การผลิต ที่สูงขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ที่เป็น ปัจจัย การผลิต ปรับตัวสูงขึ้น มีผล ต่อ ต้นทุนในการผลิต
หรือ ราคาค่าแรง ปรับตัวสูงขึ้น มีผลต่อ ราคาสินค้า และ บริการ
ในขณะที่ ความต้องการ หรือ Demand เท่าเดิม
สาเหตุ ที่สอง คือ กับ เงินเฟ้อ ที่เกิดจาก ความต้องการ ที่สูงขึ้น หรือ Demand Pull เป็นผล มาจาก สินค้า และ บริการ มีจำนวนเท่าเดิม แต่ ความต้องการ ซื้อ สูงขึ้น ส่งผลให้ ราคา สินค้า และ บริการ ปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการซื้อ ที่เพิ่มขึ้น
อัตราเงินเฟ้อ ที่เกิดจาก ความต้องการ ซื้อ ที่สูงขึ้น สะท้อนให้เห็น ถึง การเติบโตของ เศรษฐกิจ กำลังซื้อที่สูงขึ้น การบริหารจัดการ อัตราเงินเฟ้อ ที่เกิดจาก Demand Pull บริหารจัดการง่าย โดย การปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย เพื่อ ดึง สภาพคล่อง หรือ ปริมาณเงิน กลับเข้าสู่ ระบบ
ในขณะที่ การบริหารจัดการ เงินเฟ้อ ที่เกิดจาก ต้นทุนการผลิต ที่สูง ขึ้น การบริหาร จัดการ ทำได้ยากกว่า เพราะ ต้องหา วิธี ในการบริหารจัดการ ต้นทุนที่สูงขึ้น การลดดอกเบี้ย เป็นแนวทางหนึ่ง ในการบริหาร จัดการ เพื่อให้ ต้นทุนทางการเงิน ของผู้ประกอบการ ลดลง
แต่การ ลดดอกเบี้ย เป็นเพียง แนวทางหนึ่ง ซึ่ง อาจจะช่วย หรือ ไม่ช่วย ให้ต้นทุน ในการผลิต ลดลง ถ้า ต้นทุนการผลิต ที่สูงขึ้น มาจาก ราคาวัตถุดิบ ที่สูงขึ้น จาก ปัจจัยภายนอก เช่น ราคาพลังงาน ที่ปรับขึ้น – ลง ตาม กลไก ตลาดโลก เป็นต้น

เมื่อเงินเฟ้อ สูงขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้น กับ ประชาชน คือ?
ต้นทุน ค่าครองชีพ ของ ภาคประชาชน มีแนวโน้ม ที่สูงขึ้น ตาม ราคาสินค้า ที่เพิ่มขึ้น
ยิ่ง อัตราเงินเฟ้อ สูง ยิ่งหมายถึง เรามีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ในการซื้อสินค้าในปริมาณเท่าเดิม
เรามีต้นทุน การถือครองเงิน ที่สูงขึ้น ถ้าดอกเบี้ยที่เราได้ ต่ำกว่า อัตราเงินเฟ้อ หมายถึง เงินเรามีมูลค่าลดลง
สิ่งที่เราต้องถามตัวเอง กลับมาคือ?
เรามีความสามารถ ในการหารายได้เพิ่มขึ้น ในอัตราที่สูง กว่า อัตราเงินเฟ้อ ที่สูงขึ้นหรือไม่
ด้านหนึ่งของเงินเฟ้อ สะท้อนถึงอัตราการเติบโตเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเศรษฐกิจเติบโต ไม่มาก แต่ อัตราเงินเฟ้อ สูงกว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ก็หมายถึง ความมั่งคั่ง หรือ เงินในกระเป๋า ของ เรา มีมูลค่า ลดลง นั่นเอง !
ข้อมูลอ้างอิง : https://www.moc.go.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/krungthai-compass-inflation-08062024/

Editor's Pick
