
“พาณิชย์” คาด อัตราเงินเฟ้อ ปี 2567 ต่ำกว่า 1 % ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อปี 2566 อยู่ที่ 1.23% ผลจาก ราคาอาหารสด และ ราคาพลังงาน มีแนวโน้มลดลง ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2566
ผู้อำนวยการ สำนักงาน นโยบาย และ ยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค ของไทย เดือน ธันวาคม 2566 เท่ากับ 106.96 เมื่อเทียบกับ เดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเท่ากับ 107.86 ส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ลดลง 0.83% (YoY) ลดลง ต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 3
ปัจจัยสำคัญ มาจากการ ลดลงของ ราคาสินค้า ในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง และ ค่ากระแสไฟฟ้า ตามนโยบาย ลดภาระ ค่าครองชีพ ด้านพลังงาน ของรัฐบาล
รวมทั้ง เนื้อสัตว์ และ เครื่อง ประกอบอาหาร ที่ราคาลดลง ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ผักสด ราคาลดลง ค่อนข้างมาก
สำหรับ สินค้า และ บริการอื่น ๆ ราคา เคลื่อนไหว ในทิศทาง ปกติ ส่วน เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหัก อาหารสด และ พลังงานออก สูงขึ้น 0.58 % (YoY)

จากข้อมูล อัตราเงินเฟ้อ ของไทย ใน เดือน พฤศจิกายน 2566 ที่ลดลง 0.44% ถือว่า อยู่ในกลุ่ม ประเทศ ที่มี อัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ ระดับต่ำ อันดับ 5 จาก 135 เขตเศรษฐกิจ ที่ประกาศ ตัวเลข
และ ยังคงต่ำที่สุด ในอาเซียน จาก 7 ประเทศที่ ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย) สอดคล้องกับ ในหลายประเทศทั่วโลก ที่อัตราเงินเฟ้อ มี แนวโน้มชะลอตัว
การปรับตัว ลดลง ต่อเนื่อง ของ อัตราเงินเฟ้อ ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2566 ทำให้ อัตราเงินเฟ้อ เฉลี่ย ทั้งปี 2566 อยู่ที่ 1.23% ซึ่งเป็น อัตราใกล้เคียง กับที่ กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ไว้ ที่ คาดว่า จะมี อัตราเงินเฟ้อ ที่ 1-1.7 % หรือ ค่าเฉลี่ยที่ 1.35%
โดยมีสาเหตุ หลักจากการ สูงขึ้น ของสินค้า ในกลุ่ม อาหารสด ทั้ง ข้าวสาร ไข่ไก่ ผัก และ ผลไม้ จาก ต้นทุนการผลิต ที่ยังอยู่ ระดับสูง เมื่อเทียบกับ ปี 2565
และพืชผัก บางชนิด เผชิญกับ สภาพอากาศ ที่ไม่เอื้ออำนวย ต่อ การเพาะปลูก ประกอบกับ อุปสงค์ ในประเทศ ปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับแรง สนับสนุน จาก การท่องเที่ยว และ การส่งออก ที่ขยายตัวดี มีส่วน ทำให้ ราคาสินค้าในกลุ่ม อาหารสด ปรับสูงขึ้น
นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูป มีการปรับราคาสูงขึ้น เล็กน้อย ตามราคาวัตถุดิบ รวมถึง ค่ากระแสไฟฟ้า ที่ราคายังอยู่ ระดับสูง กว่าปี 2565
อย่างไรก็ตาม ยังมี สินค้าสำคัญ หลายรายการ ที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร และ น้ำมันพืช ตามอุปทาน ที่เพิ่มมากขึ้น และ น้ำมันเชื้อเพลิง จาก มาตรการของ ภาครัฐ และ สถานการณ์ ราคาน้ำมัน ในตลาดโลก พูนพงษ์ กล่าว
“พาณิชย์” คาด อัตราเงินเฟ้อ ปี 2567 ต่ำกว่า 1 %
ในขณะที่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 พูนพงษ์ กล่าวว่า มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำที่ ลบ 0.3% ถึง 1.7 % โดยมีค่ากลางเฉลี่ยที่ 0.7% โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม มีโอกาสติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่
1) มาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซล และตรึงค่ากระแสไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 300 หน่วย
2) ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศปรับลดลงตาม 3) ผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญ มีแนวโน้มลดลง
และ 4) มาตรการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ เพื่อรองรับการใช้จ่ายของประชาชนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามมาตรการ Easy E-Receipt
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เช่น การท่องเที่ยวที่ส่งผลให้สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก อาทิ การโจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดง ที่ทำให้การขนส่งทางทะเลปรับขึ้นค่าธรรมเนียมและค่าระวางเรือ ซึ่งคาดว่าจะเป็นผลกระทบชั่วคราวและเหตุการณ์ไม่น่าจะยืดเยื้อ เป็นต้น
ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนธันวาคม 2566 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 54.8 จาก 55.0 ในเดือนพฤศจิกายน ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดลง คาดว่ามาจาก
1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามคาด
2) ความกังวลต่อปัญหารายได้ที่อาจจะยังไม่เพียงพอกับค่าครองชีพและภาระหนี้สิน
และ 3) ราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม ช่วงเทศกาลปีใหม่จะส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับมาตรการของภาครัฐด้านการลดค่าครองชีพ การเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน รวมถึงการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่น พูนพงษ์ กล่าว
ที่มาของข้อมูล : https://www.moc.go.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/imf-economy-18042024/

Editor's Pick
