BangkokX-Horizontal
‘สรรพากร’ เสนอ ร่างกฏกระทรวง ยกเว้น ภาษี กองทุนรวมลงทุน หุ้นยั่งยืน
‘สรรพากร’ เสนอ ร่างกฏกระทรวง ยกเว้น ภาษี กองทุนรวมลงทุน หุ้นยั่งยืน

‘สรรพากร’ เสนอ ร่างกฏกระทรวง ยกเว้น ภาษี กองทุนรวมลงทุน หุ้นยั่งยืน เพื่อเป็น ส่วนหนึ่งของ การสนับสนุน นโยบาย ของรัฐบาล ใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร

ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดี กรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร  เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง โดย กรมสรรพากร ตระหนักถึง ความสำคัญ ของ การพัฒนา ที่ยั่งยืน ต่อ การขับเคลื่อน เศรษฐกิจ และ การใช้ ตลาดทุนไทย เป็นกลไก บรรลุเป้าหมาย

ด้านความสามารถ   ในการแข่งขัน ควบคู่ ไปกั บความยั่งยืน ของประเทศ จึงได้ เสนอ ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่า ด้วยการ ยกเว้น รัษฎากร ตาม มาตรการภาษี ดังกล่าว

อันเป็น ผลมาจาก การประชุม ร่วมกัน ของ กระทรวง การคลัง กับ สภาธุรกิจ ตลาดทุนไทย ให้มี การจัดตั้ง กองทุนรวมไทย เพื่อความยั่งยืน

และ กำหนด สิทธิประโยชน์ ทางภาษี สำหรับการลงทุน ในกองทุนรวมดังกล่าว โดย กองทุนรวมนี้ จะนำเงิน ไปลงทุน ในกิจการ ที่ดำเนินธุรกิจ อย่างยั่งยืน ด้วยการ คำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล(Environmental, Social, and Governance หรือ ESG)

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด โดยจะ ลงทุนใน กิจการของไทย เท่านั้น

‘สรรพากร’ เสนอ ร่างกฏกระทรวง ยกเว้น ภาษี กองทุนรวมลงทุน หุ้นยั่งยืน

‘สรรพากร’ เสนอ ร่างกฏกระทรวง ยกเว้น ภาษี เพื่อส่งเสริม การลงทุน เพื่อความยั่งยืน ของ ประเทศไทย

มีรายละเอียด ดังนี้

1.ให้ ผู้มีเงินได้ มีสิทธิ หักลดหย่อน ค่าซื้อหน่วยลงทุน ใน กองทุนรวมไทย เพื่อความยั่งยืน ในอัตรา ไม่เกิน 30% ของ เงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วน ที่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับ ปีภาษี

โดยผู้มีเงินได้ ต้องถือ หน่วยลงทุน ไม่น้อยกว่า 8 ปี นับตั้งแต่ วันที่ ซื้อหน่วยลงทุน แต่ ไม่รวมถึง กรณี ทุพพลภาพ หรือ ตาย

ทั้งนี้ สำหรับ การซื้อหน่วย ลงทุน ตั้งแต่ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 (วันที่ คณะรัฐมนตรี  มีมติ อนุมัติหลักการ) ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2575 และ ต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่ อธิบดี กรมสรรพากร ประกาศ กำหนด

2.ยกเว้น ให้ผู้มีเงินได้ ไม่ต้องนำ เงิน หรือ ผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจาก การขายหน่วยลงทุน คืน ให้แก่ กองทุนรวมไทยเ พื่อความยั่งยืน มารวมคำนวณ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

เฉพาะกรณีที่ เงิน หรือ ผลประโยชน์ ดังกล่าว คำนวณ มาจาก ค่าซื้อหน่วยลงทุน ที่ได้ รับสิทธิ ตามข้อ 1 และ ผู้มีเงินได้ ถือหน่วยลงทุน มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 8 ปี นับตั้งแต่ วันที่ ซื้อหน่วยลงทุน แต่ไม่รวมถึง กรณี ทุพพลภาพ หรือ ตาย

ดร.กุลยา กล่าวว่า มาตรการ ภาษี นี้จะช่วย ให้ การลงทุน ระยะยาว ใน ตลาดทุนไทย เพิ่มขึ้น อันจะทำให้ เสถียรภาพ ของ ตลาดทุนไทย เพิ่มขึ้น

และจะทำให้ ผู้มีเงินได้ มีทางเลือก ในการออม และ การลงทุน ระยะยาว เพิ่มขึ้น อีกด้วย

ทั้งยัง จะทำให้ การลงทุน ในกิจการ ที่คำนึงถึง ESG เพิ่มขึ้น อย่างมี นัยสำคัญ และ กิจการของ ไทย ที่ให้ ความสำคัญ แก่ ESG เพิ่มขึ้น อย่างมี นัยสำคัญ ตามไปด้วย

อันจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ของสหประชาชาติ รวมทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ปิดที่ 1,423.61 จุด บวก 4.17 จุด โดยมีมูลค่าการซื้อ-ขายที่ 37,778.79 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 699.2 ล้านบาท ในขณะที่นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 604.44 ล้านบาท

ที่มาของข้อมูล : https://www.mof.go.th/th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/economic-2024-24012024/

Ellipse 1
กองบรรณาธิการ Bangkok X

บทความที่เกี่ยวข้อง