
“ซิตี้แบงก์” คาด ธปท. ลดดอกเบี้ย 0.25% ในส.ค. 67 พร้อม มอง จีดีพีไทย โต 2.5% หลัง จีดีพี ไทย ไตรมาส 1 ปี 2567 ดีกว่าคาด ธุรกิจท่องเที่ยว ติดท็อป อุตสาหกรรม โตแกร่ง ด้าน
เศรษฐกิจไทย หลีกเลี่ยง ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทางเทคนิค หลัง จีดีพี ไตรมาส 1 ปี 2567 เติบโต 1.5% โดย ปัจจัยการ เติบโตหลัก มาจาก การบริโภคและ การลงทุน ภาคเอกชน
โดยเฉพาะ ส่วนที่เกี่ยวข้อง กับ ภาค การท่องเที่ยว แต่ ภาค การส่งออก สินค้า และ การใช้จ่าย ภาครัฐ ยังคง หดตัว ต่อเนื่อง
จากข้อมูล ล่าสุด ซิตี้แบงก์ คาดการณ์ จีดีพีไทย ปี 2567 และ 2568 มี อัตราการเติบโต อยู่ที่ 2.5% และ 3.2% ตามลำดับ
“ซิตี้แบงก์” คาด ธปท. ลดดอกเบี้ย สิงหาคม 2567
ทั้งนี้ คาดว่า การประชุม คณะกรรมการ นโยบายการเงิน หรือ กนง. ใน เดือน มิถุนายน จะยังไม่มี การลด อัตราดอกเบี้ย นโยบาย เพื่อสนับสนุน เป้าหมาย ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใน การลด ปัญหา หนี้ครัวเรือน และ ติดตาม แนวโน้ม การเติบโต ทางเศรษฐกิจ ในอนาคต
อย่างไร ก็ตาม ซิตี้แบงก์ ยังคง คาดว่า จะมีการ ลดอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 0.25 % ใน เดือน สิงหาคม ลงมา อยู่ที่ 2.25 % เนื่องจาก เศรษฐกิจ ยังมี ความเสี่ยง ขาลง ท่ามกลาง สถานการณ์ การส่งออก ที่อ่อนแอ และ ความไม่แน่นอน ในการใช้จ่าย ภาครัฐ
นลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคาร ซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า จีดีพี ประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เติบโต 1.5% จาก ช่วงเวลาเดียวกัน ของ ปีก่อนหน้า สูงกว่า การคาดการณ์ ของ ซิตี้แบงก์ และ นักวิเคราะห์ ส่วนใหญ่
หากปรับ ปัจจัย ฤดูกาล ออก (Seasonally Adjusted) จีดีพี ไตรมาส ที่ผ่านมา เติบโต ราย ไตรมาสที่ 1.1% ปรับ ดีขึ้น จาก ไตรมาส ก่อนหน้า ที่หดตัว 0.4%
ถึงแม้ อัตราการเติบโต ดังกล่าว จะเป็น การยืนยัน ว่า ประเทศไทย ไม่เผชิญ กับ ภาวะ เศรษฐกิจ ถดถอย ทางเทคนิค (Technical Recession)
แต่ การเติบโต ของ เศรษฐกิจ ยังคง อ่อนแอ โดย เติบโต น้อยกว่า 2.0 % จาก ช่วงเวลา เดียวกัน ของ ปีก่อนหน้า (YoY) ติดต่อกัน เป็น ไตรมาสที่ 4 และ ในแต่ละ ภาคส่วน มีการเติบโต ที่ไม่สม่ำเสมอ กัน
นลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย
การบริโภค ภาคเอกชน สูงกว่า คาด
ในฝั่ง อุปสงค์ การบริโภค ภาคเอกชน เติบโต สูงกว่า คาดการณ์ ที่ 6.9 % จาก ช่วงเวลาเดียวกัน ของ ปีก่อนหน้า โดยมี แรงหนุน มาจาก การ ท่องเที่ยว นโยบาย e-Refund กระตุ้น เศรษฐกิจ ในช่วง 45 วันแรก ของปี
และ การ อุดหนุน ราคาพลังงาน ขณะที่ การลงทุน ภาคเอกชน เติบโต เพิ่ม ที่ 4.6% จาก ช่วงเวลา เดียวกัน ของ ปีก่อนหน้า
โดย ได้รับ แรงหนุน จาก การลงทุน ในกลุ่ม อุปกรณ์ และ เครื่องจักร สอดคล้อง กับ การยื่น ขออนุมัติ การลงทุน ที่เพิ่มขึ้น ในปี 2566
ขณะที่ ปัจจัย ซึ่ง ฉุดรั้ง การเติบโต ของจีดีพี ประกอบด้วย การใช้จ่ายรวม ของภาครัฐ จาก ความล่าช้า ของการ ประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณฯ ปี 2567 รวมถึง ปัจจัยสำคัญ อย่าง มูลค่า การส่งออกสุทธิ ที่ลดลง จากการ หดตัว ของ การส่งออก สินค้า และ การนำเข้า สินค้า เพิ่มขึ้น
แม้ การส่งออก บริการ จะมี ความ แข็งแกร่ง แต่ก็ ไม่เพียงพอ ที่จะ ชดเชย ผลกระทบ ดังกล่าว
ภาคบริการ และ การท่องเที่ยว เติบโต
ในฝั่งอุปทาน ภาค การบริการ เป็นปัจจัย สำคัญ ที่สร้าง การเติบโต ในไตรมาส ที่ 1 โดยเฉพาะ อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้อง กับ การท่องเที่ยว
อย่างไร ก็ตาม อุตสาหกรรม การก่อสร้าง ยังคง หดตัว จาก ความล่าช้า ของ การลงทุน ภาครัฐ และ อสังหาริมทรัพย์ เพื่อการอยู่อาศัย ฟื้นตัวต่ำ
เช่นเดียวกับ ภาค การเกษตร ที่ผลผลิต ได้รับ ผลกระทบจาก สภาพอากาศ แต่ ปัจจัยสำคัญ ที่ฉุด การเติบโต มาจาก ภาคการผลิต ที่หดตัว ติดต่อกัน 6 ไตรมาส
สอดคล้อง กับ ภาคการส่งออก สินค้า ที่เซื่องซึม จากปัจจัย เชิงโครงสร้าง ของบางกลุ่ม สินค้า เช่น ชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
นลิน กล่าวต่อว่า “ซิตี้แบงก์ ยังคง คาดการณ์ จีดีพี ตลอดปี 2567 จะมี อัตราการเติบโต ที่ 2.5% และ จีดีพี ปี 2568 จะเติบโต ที่ 3.2%
ด้าน มูลค่า การส่งออก มีแนวโน้ม เติบโต 2.0 % และ มูลค่าการนำเข้า เติบโต 4.1%
ขณะที่ จำนวน นักท่องเที่ยว คาดว่า จะมี จำนวน 36.5 ล้านคน ในปี 2567 และ 41 ล้านคน ในปี 2568 โดยมี ปัจจัย ความเสี่ยง ขาลง สำหรับ ไตรมาสหน้า จากการ ฟื้นตัว ของ ภาคการส่งออก และ ความรวดเร็ว ในการเบิกจ่าย ทางการคลัง
ขณะเดียวกัน เราเล็งเห็น ถึง ความเสี่ยงขาขึ้น จากการ เติบโต ขอ งเศรษฐกิจโลก และ การท่องเที่ยว ซึ่ง อาจมี แนวโน้มดีกว่า ที่คาดการณ์ ไว้ ในช่วง ครึ่งปีหลัง”
“ซิตี้แบงก์” คาด ธปท. ลดดอกเบี้ย ส.ค. 67
สำหรับ การประชุม กนง. วันที่ 12 มิถุนายน 2567 ซิตี้แบงก์ คาดว่า ที่ประชุม จะยัง ไม่มี การลด อัตราดอกเบี้ย นโยบาย เนื่องจาก จีดีพี ไตรมาส 1 ที่ยังคงเติบโต สอดคล้อง กับ การคาดการณ์ ของ ธปท. ซึ่ง ยังคงมี ความกังวล ด้านเสถียรภาพ ในระยะยาว
อย่างไรก็ดี ซิตี้แบงก์ คาดว่า มีโอกาสเห็น การปรับลด อัตราดอกเบี้ย นโยบายลง 0.25% ใน เดือน สิงหาคม มาอยู่ที่ 2.25%
เนื่องจาก ความเสี่ยงขาลง ต่อ การเติบโต ทางเศรษฐกิจ และ เงินเฟ้อ (ปัจจัยหลัง อาจจะ มีน้อยกว่า)
ดังนั้น จึงคาดว่า ตลอดปี 2567 จะมี การลด อัตราดอกเบี้ย นโยบาย แค่ 1 ครั้ง ทั้งนี้ หาก ภาคการส่งออก ฟื้นตัว มากขึ้น และ ภาครัฐ มีการเร่ง การใช้จ่าย ความเป็นได้ ที่ อัตราดอกเบี้ย นโยบาย จะคง อยู่ที่ 2.50% จะมี มากขึ้น
อนึ่ง ถึงแม้ว่า เราจะมองว่า การลด อัตราดอกเบี้ย ของ เฟด จะเป็น ปัจจัย ที่สำคัญ น้อยกว่า การฟื้นตัว ของ เศรษฐกิจ ภายใน ประเทศ ต่อ การตัดสินใจของ กนง.
แต่อย่างไร ก็ดี เราสังเกตว่า ธปท. มีการติดตาม ความผันผวน ของ อัตราการแลกเปลี่ยน อย่างใกล้ชิด มากขึ้น ในช่วง ที่ผ่านมา

“หากการ ลดอัตราดอกเบี้ย เกิดขึ้น ตาม การคาดการณ์ ในช่วงครึ่งหลัง ของปี 2567 ซิตี้แบงก์ คาดว่า ธปท. จะคง อัตราดอกเบี้ย ไว้ที่ 2.25% ไปจนถึง ปลายปี 2568
โดยคำนึงจาก ศักยภาพ การเติบโต ของเศรษฐกิจ ที่ลดลง และ แนวโน้ม อัตราเงินเฟ้อ ระยะยาว ที่ต่ำ หรือ ประมาณ 1.8%
ส่วน ปัจจัยอื่น ๆ ที่ ต้องติดตาม ต่อ ได้แก่ ช่วงเวลาที่ แน่นอนของ โครงการ ดิจิทัล วอลเล็ต ซึ่ง อาจส่งผล ให้ จีดีพี ปี 2567 และ 2568 เติบโต เพิ่มเล็กน้อย
รวมไปถึง ปัจจัย การกู้ยืม ของภาครัฐ และ อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาล ที่มีโอกาส ปรับตัวสูงขึ้น ตามลำดับ” นลิน กล่าวทิ้งท้าย
ที่มาของข้อมูล : https://www.uob.co.th/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: https://bangkokx.me/export-april-2024/

Editor's Pick
