
“นายกฯ” ประกาศเดินหน้าโครงการ Digital Wallet วงเงิน 500,000 ล้านบาท ครอบคลุม ประชาชน 50 ล้านคน เริ่มใช้ได้ ไตรมาสสี่ ของปี 2567 โดยใช้ เงินงบประมาณ ปี 2567-2568 และ ใช้เงินผ่าน ธนาคารเพื่อ การเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร มั่นใจ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย เติบโต 1.2 – 1.6 %
“นายกฯ” ประกาศเดินหน้าโครงการ Digital Wallet นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง เศรษฐา ทวีสิน แถลงเดินหน้า โครงการ เติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครอบคลุม ประชาชน 50 ล้านคน วงเงิน 500,000 ล้านบาท คาดว่าจะ สามารถ กระตุ้น การเติบโตของ เศรษฐกิจไทย ได้ 1.2 – 1.6 %
ปลัด กระทรวงการคลัง ลวรณ แสงสนิท กล่าวว่า แหล่งเงินที่ใช้ในการดำเนินโครงการจะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โปร่งใสตรวจสอบได้โดยวงเงิน 5 แสนล้านบาท บริหารจัดการผ่านงบประมาณได้ทั้งหมด
โดยจะใช้ เงินจาก งบประมาณ 3 แหล่ง ได้แก่ เงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท
การดำเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 28 ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 172,300 ล้านบาท ครอบคลุมเกษตรกร 27 ล้านคน และการบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท
“การดำเนินการดังกล่าวได้ดำเนินการโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับกฎหมายต่าง ๆ เช่น มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ)
ซึ่งกำหนดว่า รัฐต้องดำเนินนโยบาย การคลังตามหลักการรักษาเสถียรภาพและการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และหลักความเป็นธรรมในสังคม และต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ
ซึ่งกำหนดว่าการดำเนินการใด ๆ ของรัฐที่มีผลผูกพันทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ ต้องพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย” ลวรณ กล่าว
“นายกฯ” ประกาศเดินหน้าโครงการ Digital Wallet
เงื่อนไขเข้มร้านค้าต้องผ่านการพิจารณาของ “กระทรวงพาณิชย์”
รัฐมนตรีช่วยว่ากากระทรวงการคลัง จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ กล่าวว่า แนวทางและเงื่อนไขของโครงการนี้ คือ
- กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน โดยจะมีเกณฑ์ ได้แก่ อายุเกิน 16 ปี ณ เดือน ที่มีการลงทะเบียน ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษีและมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
- เงื่อนไขการใช้จ่าย
2.1 ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
2.2 ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอและขนาดของร้านค้า
การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ โดยรอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น (ตามกระทรวงพาณิชย์กำหนด) ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้าโดยไม่จำกัดขนาดร้านค้า
- ประเภทสินค้า สินค้าทุกประเภทสามารถใช้จ่ายผ่านโครงการฯ ได้ ยกเว้น สินค้าอบายมุข น้ำมัน บริการ และออนไลน์ เป็นต้น และสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม
- คุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้ (1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) หรือ (2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมิน
ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร หรือ (3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT) ทั้งนี้ ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป
- การจัดทำระบบ จะเป็นการพัฒนาต่อยอดของรัฐบาลดิจิทัลโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายให้เป็น Super App ของรัฐบาล โดยการใช้งานจะพัฒนาให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่น ๆ ในลักษณะ open loop ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำของภาครัฐ รัฐบาล จะดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตามกฎหมาย
- ช่วงเวลาการดำเนินโครงการ ประชาชนและร้านค้าจะสามารถเข้าร่วมโครงการฯ ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และจะมีการเริ่มใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567
- การป้องกันการทุจริตของโครงการฯ เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตคณะกรรมการฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบ การกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ โดยมีผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธาน และ ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นอนุกรรมการและ เลขานุการร่วม ซึ่งจะมีหน้าที่หลักในการตรวจสอบวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำผิด หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ รวมถึงการกระทำที่อาจฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
“เงินจะเริ่มถูกนำมาใช้ในไตรมาสสี่ของปี 2567 ซึ่งจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในปี 2568” จุลพันธ์ กล่าว
นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลัง เศรษฐา กล่าวเพิ่มเติม ว่า การแถลงครั้งนี้ก็ชัดเจน ในแง่ของหลักการ และจุดประสงค์ ว่า เราต้องการทำเพื่ออะไร
แหล่งที่มาที่ไปของเงิน รวมทั้ง เงื่อนไข ที่จะได้รับเงิน และ คณะกรรมการ ที่จะมาดูแล เรื่องความโปร่งใส เป็นวันที่รัฐบาลมี ความดีใจ ที่ประชาชน จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับ เงินดิจิทัลที่ จะถึงมือ ในปลายปีนี้
ที่มาของข้อมูล : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/81606
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/bot-interest-gdp-29-11-2023/

Editor's Pick
