BangkokX-Horizontal
ทุนเทคโนโลยี่แห่เข้าลงทุนในไทยมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาท
microsoft1

AWS(Amazon Web Services), Microsoft, Google วางแผนลงทุนในไทยมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ดันไทยเป็นศูนย์กลางพัฒนาเทคโนโลยี่ดิจิทัลในภูมิภาคเอเซีย

ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า  ระหว่างเดินทางไปร่วมประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 30  นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เศรษฐา ทวีสิน ได้เจรจาการลงทุนกับ 3 บริษัทชั้นนำระดับโลกทั้ง  AWS (Amazon Web Services), Microsoft และ Google ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยโดยผู้บริหารทั้ง 3 บริษัทให้ความสนใจ คาดว่าจะทำให้เกิดการลงทุนในไทยมูลค่าไม่น้อยกว่า 3 แสนล้านบาท

จากการรวบรวมของ BangkokX เกี่ยวกับการเข้ามาลงทุนของกลุ่มทุนเทคโนโลยี่ในประเทศไทย พบกว่า AWS (Amazon Web Services) มีแผนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2564 ต่อเนื่องมาถึงปี 2566 (ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา) โดย Amazon Web Services: AWS บริษัทในเครือ Amazon.com, Inc. (NASDAQ:AMZN) ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ด้วยการเปิดตัว AWS Region ในประเทศไทย ที่จะมีชื่อว่า AWS Asia Pacific (Bangkok) ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานและจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยในขณะที่ให้บริการผู้ใช้ปลายทางด้วยเวลาแฝงที่ต่ำ โดยมีการวางงบประมาณลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในระยะเวลา 15 ปี โดยเริ่มเข้ามาลงทุนตั้งแต่ปี

AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ได้เพิ่มการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย และยังรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าในประเทศไทย โดยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2563 AWS ได้เปิดตัว Amazon CloudFront edge locations จำนวน 10 แห่งในกรุงเทพ ซึ่ง Amazon CloudFront เป็น content delivery network (CDN) หรือเครือข่ายการส่งเนื้อหาที่มีความปลอดภัย และช่วยเร่งการส่งข้อมูล วิดีโอ, แอปพลิเคชัน และ API ไปยังผู้ใช้ทั่วโลกด้วย latency ที่ต่ำ และสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ในปี 2563 ขณะเดียวกัน AWS Outposts ก็ได้ให้บริการในประทศไทย ซึ่ง AWS Outposts เป็น full managed service ที่ให้ในเรื่องของการบริการเช่นเดียวกับ AWS infrastructure,​ AWS services, APIs และเครื่องมือในการจัดการใน data center, co-location หรือ on-premises เพื่ออำนวยความสะดวกให้องค์รที่จะใช้งานในรูปแบบ hybrid หลังจากนั้น AWS ยังคงขยายการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น โดยเปิดตัว AWS Local Zone ในกรุงเทพ เพื่อให้ลูกค้าในประเทศไทยสามารถพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชันที่มี latency ต่ำในระดับ single-digit millisecond ให้กับ end users ในประเทศไทยได้

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 AWS ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (MDES) เพื่อช่วยในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของ Thailand Government Cloud (ระบบคลาวด์ที่ใช้ในภาครัฐของประเทศไทย) ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ MDES และรัฐบาลไทยสามารถพิจารณาใช้ AWS เป็นส่วนหนึ่งของ Government Data Center and Cloud service (GDCC) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ส่วนกลางสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ MDES จะทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลไทยอื่นๆ และ AWS เพื่อระบุ pilot workload ในเชิงกลยุทธ์เพื่อใช้งานบน AWS ผ่านทาง GDCC ในปีหน้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานของรัฐสามารถทดลองกับเทคโนโลยีคลาวด์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและบรรลุภารกิจได้

ในขณะที่ Google และ Microsoft มีแผนที่จะย้ายฐานการลงทุนในจีน เข้าสู่ประเทศเวียดนามและไทยในปี 2563 ซึ่งเป็นผลจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในปี 2563 โดยเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการเดินสายโรดโชว์ครั้งแรกของปี 2566 ณ นครซีแอตเติล และนครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 1-3 ก.พ. 2566 ว่า  นำโดย บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐอเมริกา อย่าง บริษัท Amazon Web Services (AWS) ที่ได้ประกาศลงทุนในประเทศไทยด้วยเงินลงทุนกว่า 1.9 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปี 2564 และยังคงลงทุนต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ บริษัท Google ที่ประกาศจัดตั้ง Google Cloud Region ในประเทศไทย และบริษัท Microsoft ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลกที่ทำธุรกิจในไทยมายาวนาน บริษัท Western Digital ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญของโลก ซึ่งมีฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทอยู่ในประเทศไทย และบริษัท Analog Devices ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์และ IC อันดับต้นของโลก ซึ่งได้ลงทุนและขยายฐานการประกอบและทดสอบเซมิคอนดัคเตอร์ในไทยอย่างต่อเนื่อง

ผลต่อเนื่องจากการเดินทางโรดโชว์ของบีโอไอตามนโยบายของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์  มาถึงรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566  บริษัท Microsoft ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลไทย เป็นโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศ   รวมทั้งช่วยยกระดับบริการสาธารณะ ผ่านการเปลี่ยนแปลงบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  การเตรียมใช้กลไกใหม่  Utility Green Tariff (UGT)  รองรับการใช้พลังงานสะอาดทำให้บริษัทได้ใช้พลังงานหมุนเวียนผ่านโครงข่ายไฟฟ้าของรัฐ ในอัตราค่าบริการเหมาะสม โปร่งใส  และเป็นธรรม รวมทั้ง บริษัท Google ได้ลงนาม MOU ระหว่าง Google กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ถือเป็นความสำเร็จเพื่อไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล และเชื่อมั่นว่าจะมีส่วนสำคัญช่วยให้ประเทศเติบโตทางเศรษฐกิจ   Google ได้พิจารณาไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพสำหรับเป็นสถานที่ตั้งศูนย์ข้อมูล (Data Center) เพิ่มเติมเป็นแห่งที่ 4 ในบริเวณภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นแห่งที่ 11 ของโลก

 

ความร่วมมือดังกล่าว นายกรัฐมนตรี เศรษฐา กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลในภูมิภาคเอเซีย โดยไมโครซอฟท์จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สอดคล้องกับนโยบายด้านรัฐบาลดิจิทัล และการใช้บริการระบบคลาวด์ภาครัฐ หรือ Cloud First ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนภาคการเกษตร สาธารณสุข การท่องเที่ยว และการศึกษา นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังจะร่วมพิจารณาแผนการลงทุนก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย เพื่อยกระดับการใช้งานคลาวด์และ AI ต่อไปในอนาคต และพร้อมกันนี้ ไมโครซอฟท์จะให้การสนับสนุนกับรัฐบาลไทยในด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยการนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด พร้อมด้วยความเชี่ยวชาญจากบุคลากรชั้นนำของบริษัท ร่วมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 ผ่านทางการสร้างพื้นที่ทดสอบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Sandbox) เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน นับตั้งแต่ภาครัฐ องค์กรเอกชนขนาดใหญ่ ไปจนถึงผู้ประกอบการรายย่อย นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังมีแผนที่จะนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานเต็ม 100% ในโครงการและแผนการลงทุนในอนาคตอีกด้วย

 

Ellipse 1
กองบรรณาธิการ Bangkok X

บทความที่เกี่ยวข้อง