
“พาณิชย์” ระบุ 4 สินค้าไทย เซมิคอนดักเตอร์ เหล็ก อลูมิเนียม และ ถุงมือยาง มีโอกาสขยายตัว ท่ามกลาง สงครามการค้าระหว่าง จีน – สหรัฐฯ
พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงาน นโยบาย และ ยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวง พาณิชย์ เปิดเผยว่า เดือน พฤษภาคม ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ประกาศ ขึ้นภาษี กับ สินค้าจีน จำนวน 14 รายการ ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เซมิคอนดักเตอร์ โซลาร์เซลล์ และ กระบอกฉีดย าและ เข็มฉีดยา และ ส่วนประกอบของ แบตเตอรี่ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สำหรับ รถยนต์ EV และ รถยนต์ ที่ไม่ใช่ รถยนต์ EV กราไฟต์ ธรรมชาติ แร่ธาตุสำคัญ แม่เหล็กถาวร เครนขนถ่าย ตู้คอนเทนเนอร์ หน้าท่า เหล็ก และ อะลูมิเนียม หน้ากาก และ ถุงมือยาง ชนิดที่ใช้ทางการแพทย์

โดยในปี 2566 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้า ในรายการ ข้างต้น รวมมูลค่า ทั้งหมด 168.4 พันล้าน เหรียญสหรัฐ นำเข้าจาก จีน มูลค่า 18.9 พันล้าน เหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 11.2%
ขณะที่นำเข้าจาก ไทย มูลค่า 7.2 พันล้าน เหรียญสหรัฐ คิดเป็น สัดส่วน 4.3% สำหรับสินค้า ที่สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยที่มี มูลค่าการนำเข้า สูง มี 4 รายการสินค้า ได้แก่ โซลาร์เซลล์ เซมิคอนดักเตอร์ เหล็กและอะลูมิเนียม และถุงมือยาง
“พาณิชย์” ระบุ 4 สินค้าไทย เซมิคอนดักเตอร์ เหล็ก อะลูมิเนียม และ ถุงมือยาง ไทยได้ประโยชน์
พูนพงษ์ กล่าวว่า สงครามการค้า รอบใหม่ จะยัง ส่งผลกระทบ เชิงลบ ต่อ เศรษฐกิจ การค้าโลก ในภาพรวม อีกทั้งจะต้อง ติดตาม การดำเนินการ ของ จีน ที่อาจตอบโต้ สหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี ไม่น่าจะมี ผลกระทบ ที่รุนแรงนัก เมื่อเทียบกับ สงครามการค้า ที่เกิดขึ้น ในปี 2561 ที่ส่งผลกระทบ ทำให้ เศรษฐกิจโลก ชะลอตัว และ มูลค่า การค้าโลก หดตัว อย่างชัดเจน
ในปี 2562 (GDP ไทย ปี 2562 ชะลอตัวเหลือ 2.1% จาก 4.2% ในปี 2561 และ การส่งออกไทย ปี 2562 หดตัว 2.6% จากขยายตัว 9.9% และ 6.9% ในปี 2560 และ 2561)
ทั้งนี้ สินค้าที่ไทย อาจได้ อานิสงส์ ใน การส่งออก ทดแทน สินค้าจีน ใน ตลาดสหรัฐฯ ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์ เหล็ก อะลูมิเนียม และ ถุงมือยาง
นอกจากนี้ คาดว่า ไม่น่าจะ มีผล ต่อ รถยนต์ไฟฟ้า ของไทย เพราะ กลุ่มลูกค้า ของ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ในไทย อยู่ใน อาเซียน และโอเชียเนีย
ขณะที่ยัง ต้องติดตาม มาตรการ ที่เกี่ยวข้อง กับ อุตสาหกรรม หรือ สินค้าที่ สหรัฐฯ จับตา อย่างเช่น โซลาร์เซลล์ ซึ่ง รัฐบาล สหรัฐฯ จะเฝ้าระวัง การนำเข้า ที่เพิ่มขึ้น และ กำลังการผลิต ส่วนเกิน จากประเทศ ใน อาเซียน
จาก สถิติการค้า ปี 2566 พบว่า สหรัฐฯ เป็น ผู้นำเข้า เหล็ก และ อะลูมิเนียม ถุงมือยาง และ โซลาร์เซลล์ รายใหญ่เบอร์ 1 ของโลก
และ นำเข้า เซมิคอนดักเตอร์ สูงที่สุด เป็น อันดับ 8 ของ โลก และ เมื่อพิจารณา ตัวเลข การนำเข้าของสหรัฐฯ พบว่า สหรัฐฯ นำเข้า เซมิคอนดักเตอร์ ส่วนใหญ่ มาจาก ประเทศใน อาเซียน และเอเชียตะวันออก
โดย จีน เป็น แหล่งนำเข้า อันดับ 5 มูลค่า การนำเข้า 2,322 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 5.6% ของมูลค่าการนำเข้า เซมิคอนดักเตอร์ ทั้งหมด ของ สหรัฐฯ) หดตัว 29.6%
“ไทย” ได้ อานิสงค์ เพิ่มส่วนแบ่งตลาด ใน สหรัฐฯ
ขณะที่ ไทย เป็น แหล่งนำเข้า อันดับ 6 มูลค่า การนำเข้า 1,960 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 4.7%) หดตัว 10.0%
ซึ่งถือว่า ดีกว่า การเติบโต ของ การนำเข้า เซมิคอนดักเตอร์ ทั้งหมดของ สหรัฐฯ ที่หดตัว 15.1%
นอกจากนี้ การเติบโต เฉลี่ย ของ มูลค่าการนำเข้า จากไทย ในช่วงปี 2560-2566 ขยายตัว ถึง 13.6%
ขณะที่ การเติบโต เฉลี่ย ของ มูลค่า การนำเข้า จาก จีน และ มาเลเซีย (แหล่งนำเข้าอันดับ 1) หดตัว 6.0% และ 3.9% ตามลำดับ
ที่ผ่านมา การค้า สหรัฐฯ – จีน ลดลงชัดเจน และ นำเข้าสินค้า ทดแทน จาก ประเทศอื่น เพิ่มขึ้น มูลค่า การนำเข้าสินค้า ของสหรัฐฯ จาก จีน หดตัว 16.6% ในปี 2562
แม้ต่อมา มีการ ขยายตัว ในบางปี แต่ การนำเข้า กลับมา หดตัวสูง อีกครั้งที่ 20.3% ในปี 2566 และส่วนแบ่งตลาดของ จีนใน สหรัฐฯ ลดลงถึง 7.7% ในช่วงปี 2560-2566
ทั้งนี้ ในปี 2566 จีน เสียตำแหน่ง แหล่งนำเข้า อันดับ 1 ของสหรัฐฯ ที่ยาวนาน ต่อเนื่อง 14 ปี ให้แก่ เม็กซิโก ขณะที่ มูลค่า การนำเข้า สินค้าของ จีน จาก สหรัฐฯ หดตัว 20.8 % ในปี 2562 แม้ต่อมาการนำเข้า มี การขยายตัวในปี 2563-2564
แต่การนำเข้า จาก สหรัฐฯ กลับมา หดตัว 0.4 % และ 6.5 % ในปี 2565-2566 และ ส่วนแบ่งตลาด ของสหรัฐฯ ใน จีน ลดลง 1.9 % ในช่วงปี 2560-2566
ในช่วงปี 2562-2566 มูลค่า การส่งออก ของ ไทย ไปยัง สหรัฐฯ ขยายตัว ต่อเนื่อง อีกทั้งที่ ผ่านมาไทย เป็นฝ่ายเกินดุล กับ สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ มูลค่า การส่งออก ไป จีน ขยายตัว ในบางปี ทั้งนี้ หลังการเกิด สงครามการค้า (ปี 2560-2566)
ส่วนแบ่งตลาด ของ ไทย ใน ตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 1.3 % เป็น 1.8 % โดย สินค้าไทย ที่สามารถส่งออกทดแทน สินค้าจีน
ใน ตลาดสหรัฐฯ อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า และ ส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์ และ ส่วนประกอบ ของใช้ในบ้าน และสำนักงาน สิ่งพิมพ์ และ อุปกรณ์อื่น ๆ และ ส่วนประกอบของยานยนต์
ขณะที่ สินค้าไทย ที่สามารถ ส่งออกทดแทน สินค้า สหรัฐฯ ในตลาดจีน อาทิ ของใช้ในบ้าน และสำนักงาน สิ่งพิมพ์ และ อุปกรณ์อื่น ๆ และ คอมพิวเตอร์ และ ส่วนประกอบ
“พาณิชย์” แนะ ผู้ประกอบการไทย ช่วงชิงโอกาสจากสงครามการค้า
จากแนวโน้ม ดังกล่าว พูนพงษ์ แนะนำ ผู้ประกอบการไทย ว่า ควรจะ ช่วงชิง โอกาส จากการเปลี่ยนแปลง โดยเร่งขยายการค้า และ การส่งออก
จากที่ สหรัฐฯ มีแนวโน้ม นำเข้าสินค้า จาก ประเทศอื่น ๆ ทดแทน จีน เร่งดึงดูด การลงทุน ใน สาขา อุตสาหกรรม เป้าหมาย ของ ไทย
ในขณะเดียวกัน ต้อง เตรียมพร้อม รับมือ กับ ผลกระทบ เชิงลบ ที่อาจเกิดขึ้น โดยติดตาม สถานการณ์ แนวโน้ม ทางการค้า ของ ประเทศคู่ค้า ที่อาจส่งผล ต่อ การค้า ไทย ดำเนิน มาตรการ ปกป้อง อุตสาหกรรม ในประเทศ
ในกรณีที่มี สินค้าราคาถูก ไหลทะลัก เข้ามา ในประเทศ อย่างเหมาะสม และ ลด ความผันผวน ทางการค้า และ การกระจาย ความเสี่ยง ทางธุรกิจ โดยกระจาย ตลาดส่งออก และ เพิ่ม ความหลากหลาย ของ แหล่งนำเข้า
“ผู้ประกอบการ ต้อง ปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวโน้มของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับยกระดับ ขีดความสามารถ ในการแข่งขัน เพื่อการเติบโต ของ เศรษฐกิจ อย่างยั่งยืน” พูนพงษ์ กล่าว
ที่มาของข้อมูล : https://tpso.go.th/home
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/export-april-2024/
