BangkokX-Horizontal
กนง. มีมติ คงอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 2.5%
กนง.มีมติ คงอัตราดอกเบี้ย นโยบาย

กนง. มีมติ คงอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 2.5 % พร้อม ปรับลด การคาดการณ์ เศรษฐกิจไทย ปี 2566 เติบโต จาก 2.8% ลงมาอยู่ที่ 2.4% ย้ำเศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง

ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปิติ ดิษยทัต

กนง. มีมติ คงอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 2.5 % ผู้ช่วย ผู้ว่าการ สาย นโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปิติ ดิษยทัต ในฐานะ เลขาธิการ คณะกรรมการ นโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยภายหลัง การประชุม คณะกรรมการ นโยบาย การเงิน (กนง.) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ว่า

คณะกรรมการ กนง. มีมติ เป็นเอกฉันท์ คง อัตราดอกเบี้ย นโยบาย ที่ระดับ 2.50% ต่อปี  เนื่องจาก คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจ ไทยใน ภาพรวม ยังอยู่ ในทิศทาง ฟื้นตัวต่อเนื่อง

แม้ ภาคการส่งออก และ การผลิต ที่เกี่ยวข้อง ชะลอลง โดยในปี 2567 และ 2568 เศรษฐกิจ มีแนวโน้ม ขยายตัว อย่างสมดุล ขึ้น จากอุปสงค์ ในประเทศ

โดยได้รับ แรงส่ง จากการ บริโภค ภาคเอกชน ที่ขยายตัว ดี ตามการใช้จ่าย ในหมวด บริการ รวมทั้ง แรงสนับสนุน จาก การจ้างงาน และ รายได้แรงงาน ที่ปรับดีขึ้น

ขณะที่ ภาค การส่งออก สินค้า และ ภาคการ ท่องเที่ยว ฟื้นตัวช้า กว่าที่คาด ส่วนหนึ่ง จาก เศรษฐกิจจีน และ วัฏจักร อิเล็กทรอนิกส์ โลก ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่

ในระยะต่อไป เศรษฐกิจ มีแนวโน้ม ขยายตัว สมดุลมากขึ้น ภายใต้ บริบท ที่ ภาคการท่องเที่ยว ฟื้นตัว ต่อเนื่อง และ ภาคการส่งออก สินค้า กลับมาขยายตัว

แต่มีความเสี่ยงที่อาจไม่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเท่าที่คาดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป

กนง. มีมติ คงอัตราดอกเบี้ย นโยบาย อัตราเงินเฟ้อ มีแนวโน้มสูง ในปี 2567

ด้าน อัตราเงินเฟ้อ มีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี 2567 ตาม การฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ และ แรงกดดัน ด้านอุปทาน จาก ปรากฏการณ์ เอลนีโญ

คณะกรรมการ กนง. ประเมินว่า อัตราดอกเบี้ย นโยบาย ที่ระดับปัจจุบัน เหมาะสม กับ บริบท ที่เศรษฐกิจ กำลัง ทยอยฟื้นตัว กลับสู่ ระดับ ศักยภาพ เอื้อให้ เงินเฟ้อ อยู่ใน กรอบเป้าหมาย อย่างยั่งยืน

เสริมสร้าง เสถียรภาพ เศรษฐกิจการเงิน ในระยะยาว และ ป้องกัน การสะสม ความไม่สมดุล ทางการเงิน อีกทั้ง ช่วย รักษา ขีดความสามารถ ของ นโยบายการเงิน ในการรองรับ ความไม่แน่นอน ในระยะข้างหน้า

โดย คณะกรรมการ กนง .ได้มีการปรับ การคาดการณ์ เติบโตของ เศรษฐกิจไทยในปี 2566 จากเดิม ที่คาดการณ์ อัตราการเติบโต ที่ 2.8% มาอยู่ที่ 2.4 % ในปี 2566 และ 3.2 % ในปี 2567

แต่หากรวมผล ของโครงการ Digital  Wallet อัตราการขยายตัว ในปี 2567 คาดว่า จะอยู่ที่ 3.8% โดย ปรับลดลงจาก 4.4% ที่ประเมินไว้ ในการประชุมครั้งก่อน

ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย และคาดว่าจะอยู่ที่ 1.3% ในปี 2566 และ 2.0% ในปี 2567 โดยหากรวมผลของโครงการ Digital  Wallet คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 จะอยู่ที่ 2.2% ลดลงจาก 2.6% จากประมาณการครั้งก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 ปรับลดลงจากฐานที่สูงในปีก่อนหน้าและปัจจัยชั่วคราวโดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านพลังงาน และราคาอาหารสดที่ต่ำกว่าคาด ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังไม่รวมผลของโครงการ Digital  Wallet คาดว่าจะอยู่ที่ 1.3% ในปี 2566 และ 1.2% ในปี 2567

ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับสูงขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนีโญ รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่อาจส่งผลให้ราคาพลังงานโลกปรับสูงขึ้น

ในขณะที่ระบบการเงินโดยรวมของประเทศอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง แต่ต้องติดตามพัฒนาการของคุณภาพสินเชื่อที่อาจได้รับแรงกดดันจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก(SMEs) และการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนบางส่วนที่ยังเปราะบางจากภาระหนี้ที่สูงขึ้นและรายได้ที่ยังฟื้นตัวช้า คณะกรรมการ กนง. สนับสนุนการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการเฉพาะจุดและแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะมาตรการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)

ด้านภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง โดยต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนโน้มสูงขึ้นตามการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่านมา แต่ในภาพรวมไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยสินเชื่อธุรกิจเริ่มทรงตัวสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าสอดคล้องสกุลเงินภูมิภาค ตามการคาดการณ์ทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นหลัก

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นตัวกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย โดยอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าจะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มและความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ปิติ กล่าว

 

ที่มาของข้อมูล : https://www.bot.or.th//th/coverpage.html

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/listed-financial-result-2023/

 

Ellipse 1
กองบรรณาธิการ Bangkok X

บทความที่เกี่ยวข้อง