อสังหาฯ ปี 2567 กำไรทรุด 27.16%
อสังหาฯ ปี 2567 กำไรทรุด 27.16%

อสังหาฯ ปี 2567 กำไรทรุด 27.16% เป็นผลจาก กำลังซื้อชะลอตัว ผู้ประกอบการหั่นราคา เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน

จากการรวบรวม รายงานผลการดำเนินงานของ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี 2567 โดย บริษัท  แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด พบว่า รายได้รวม และ กำไรสุทธิ ของ ทั้ง 38 อสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดลง

โดย รายได้รวมของ 38 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ปี 2567 อยู่ที่  313,634.18 ล้านบาท และ กำไรสุทธิที่ 27,426.12 ล้านบาท ลดลง 4% และ 27.16% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ปี 2566 ที่มี รายได้รวม และ กำไรสุทธิ ของ 38 บริษัทอสังหาฯ ที่ จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2566 ที่มี มูลค่ารวม  326,722.43 ล้านบาท และกำไรสุทธิรวม 37,653.10 ล้านบาท

ในขณะที่ ความสามารถในการทำกำไร เฉลี่ย ปี 2567 ของทั้ง 38 บริษัท อยู่ที่ 8.74 % ลดลงจาก 11.52% ณ สิ้นปี 2566

และ สินค้าคงเหลือ บวกกับ สินค้าที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของ บริษัทอสังหาฯ ทั้ง 38 บริษัท ปี 2567 อยู่ที่ 716,560.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.50% จากมูลค่า 666, 526.73 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2566 โดย บริษัท แสนสิริ มีสินค้าคงเหลือและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างสูงสุดที่ 101,582.28 ล้านบาท

สินค้าคงเหลือเพิ่ม 7.50%
สินค้าคงเหลือเพิ่ม 7.50%

อสังหาฯ ปี 2567 กำไรทรุด

ขณะที่ 10 บริษัทยักษ์ใหญ่ มีส่วนแบ่งตลาด 75.56%

จากภาพรวมของ ผลประกอบการดังกล่าว เมื่อวิเคราะห์ 10 บริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีรายได้รวมสูงสุด พบว่า รายได้รวมของ  10 บริษัท ที่มีรายได้สูงสุด อยู่ที่  231,007.06 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 75.56% ของรายได้รวมทั้ง 38 บริษัท ขณะที่ กำไรสุทธิของบริษัท 10 อันดับแรกที่มี กำไรสูงสุด มีมูลค่ารวม 30,298.31 ล้านบาท สูงกว่า กำไรสุทธิรวมของ 38 บริษัท

อสังหาฯ ปี 2567 กำไรทรุด 27.16%
10 บริษัทยักษ์ใหญ่ มีส่วนแบ่งตลาด 75.56%

เนื่องจาก มีบริษัทที่ ขาดทุนสุทธิทั้งสิ้น 14 บริษัทจาก 38 บริษัท โดย บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) มีรายได้รวม สูงสุด ที่ 39,204.56 ล้านบาท ขณะที่ บริษัท ศุภาลัย จำกัด(มหาชน)  มี กำไรสูงสุด ที่ 6,189.53 ล้านบาท

ประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด ให้ความเห็นถึง ผลประกอบการของบริษัทอสังหาฯ ที่ลดลง ว่า ในด้านของรายได้ลดลง น้อยกว่า กำไรที่ลดลง  เป็นผลมาจาก กำลังซื้อ ที่ชะลอตัว

ทำให้ ผู้ประกอบการอสังหาฯ ออกแคมเปญ ทางการตลาด โดยใช้ กลยุทธด้านราคา เพื่อ กระตุ้นยอดขาย

ทำให้ ยอดขาย ของผู้ประกอบการอสังหาฯ แต่ละบริษัท ลดลงไม่มาก บางบริษัท รายได้เพิ่มขึ้น แต่ในด้านของ กำไรปรับตัวลดลง มาก เนื่องจากมีต้นทุนสูง ในการทำแคมเปญ ทางการตลาด

“บริษัทอสังหาฯ มีการปรับกลยุทธ ธุรกิจโดยเน้น การบริหารสภาพคล่องทางการเงิน เพิ่มขึ้น ทำให้ เน้นการทำแคมเปญ ด้านการตลาด โดยใช้กลยุทธด้านราคา ส่งผลให้กำไร และ ความสามารถในการทำกำไรลดลง” ประพันธ์ศักดิ์ กล่าว

ยอดโอนกรรมสิทธิ์ลดลง 6.31%

ในขณะเดียวกัน มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ ที่อยู่อาศัย ปี 2567 อยู่ที่  980,648 ล้านบาท ลดลง -6.3%เทียบกับปี 2566 ที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 1.04 ล้านล้านบาท ตามรายงานของ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

เป็นการโอน อาคารชุดมีมูลค่าการโอน 297,060 ล้านบาท ลดลง -2.5% เป็น การลดลง จากการโอนอาคารชุดในราคามากกว่า 7 ล้านบาท ขึ้นไป ในขณะที่ วงเงินไม่เกิน 7 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 4.9% เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ ที่อยู่อาศัยแนวราบมี มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์  683,588 ล้านบาท ลดลง -7.9%

ส่งผลให้ ภาพรวม การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยใน ไตรมาส 4 ปี 2567 มีมูลค่า 167,532 ล้านบาท ลดลง -5.6% เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่า 177,473 ล้านบาท

ทำให้ การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ในปี 2567 มีมูลค่า 587,344 ล้านบาท ลดลง -13.4% เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของ ปี 2566 ที่มีมูลค่า 678,347 ล้านบาท

กมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) คาดการณ์​ แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2568 ว่า จะฟื้นตัว เมื่อเทียบกับปี 2567

โดยมีจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยประมาณ 353,389 หน่วย เพิ่มขึ้น 1.6% โดยเป็นการโอนอาคารชุดประมาณ 116,618 หน่วย เพิ่มขึ้น 0.2% และการโอนที่อยู่อาศัยแนวราบ ประมาณ 236,770 หน่วย เพิ่มขึ้น 2.3%

ด้านมูลค่าการ โอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ทุกประเภท ประมาณ 994,545 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4%

โดยเป็น การโอนอาคารชุด มูลค่าประมาณ 298,363 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.4% และ การโอนที่อยู่อาศัยแนวราบ มูลค่าประมาณ 696,181 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.8%

ซึ่งมีปัจจัยบวก มาจากภาวะเศรษฐกิจ ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น จากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของภาครัฐโดยคาดว่า ปี 2568 จะมี การปล่อยสินเชื่อ ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ มูลค่าประมาณ 593,634 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.1% จากปี 2567 กมลภพ กล่าว

ที่มาของข้อมูล: www.lws.co.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/property-outlook-27012025/

[addtoany]
Ellipse 1
กองบรรณาธิการ Bangkok X