
เศรษฐกิจไทย จะไปต่อ หรือ พอแค่นี้! เป็นคำถาม ที่น่าสนใจ เพราะ ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา สำนักวิจัยเศรษฐกิจ ทั้งระดับโลก และ ระดับประเทศ ต่าง ออกมา ปรับลด ประมาณการณ์ เศรษฐกิจไทย อย่างต่อเนื่อง
จาก คาดกว่า จะเติบโตที่ 3 – 4 % ตอนนี้ ทุกสำนัก ปรับลด อัตราการเติบโต ของ เศรษฐกิจไทย ลงมา ต่ำกว่า 2.5 % กันทุกสำนัก
เศรษฐกิจไทย จะไปต่อ หรือ พอแค่นี้!
เพราะอะไร?
ข้อมูลที่ เห็นชัดเจน คือ อัตราการเติบโต ของ เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสแรก ปี 2567 ที่ สำนักงาน เศรษฐกิจ การคลัง กระทรวงการคลัง ประกาศ ออกมาคือ มีอัตราการเติบโต อยู่ที่ 1 %
ถัดมา สภาพัฒนาการ เศรษฐกิจ และ สังคม แห่งชาติ ประกาศ เศรษฐกิจไทย ไตรมาสแรก ปี 2567 เติบโตที่ 1.5 % คือ ดีขึ้นมา 0.5 %
แต่ไม่ว่าจะเป็น ตัวเลข ของ กระทรวงการคลัง หรือ สภาพัฒน์ฯ เป็นที่ ชัดเจน ว่า เศรษฐกิจ ไทย ไตรมาสแรก ปี 2567 เติบโต ต่ำกว่า 2 %
เพราะฉะนั้น การที่จะดัน อัตราการเติบโต ของ เศรษฐกิจไทย ขึ้นไป แตะ ที่ 3-4 % ตาม การคาดการณ์เดิม คือ
ต้องใช้ พลังภายใน ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ ในช่วง 9 เดือนที่เหลือ ให้เติบโตแต่ละ ไตรมาส สูงเกินกว่า 3 % ขึ้นไป ถึง จะผลักให้ อัตราการเติบโต ของ เศรษฐกิจ ไทย ทยาน ขึ้นไป ได้ถึง ระดับ 3-4 % ตามที่ คาดหมายกันไว้
แต่ เศรษฐกิจ ไทย จะเติบโต ได้ในระดับนั้น หมายถึง ทุกเครื่องยนต์ ของประเทศ ต้อง ขยายตัว อย่างต่อเนื่อง ทั้ง เครื่องยนต์ ภาคการส่งออก การค้า การลงทุน ทั้งจาก ภาครัฐ และ เอกชน รวมไปถึง รายได้ของประชาชน ที่ต้อง เพิ่มขึ้น เพื่อเป็น กลไก ในการ ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ
เรามาดูกันว่า เครื่องยนต์ แต่ละตัว ตอนนี้เป็นอย่างไร?
จากรายงานล่าสุด ของ ที่ประชุม คณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง.) ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ล่าสุด วันที่ 12 มิถุนายน 2567 ที่มีมติ 6:1 ให้ คง อัตราดอกเบี้ย นโยบาย ไว้ที่ 2.50 % ระบุว่า ในปี 2567 ภาคการส่งออก มีแนวโน้ม ที่จะ ขยายตัวในระดับ ต่ำ
ซึ่งเป็น ผลมาจาก ปัญหาเชิง โครงสร้าง และ ความท้าทาย จาก ความสามารถ ในการแข่งขัน ที่ปรับลดลง อีกทั้ง สินค้าบางกลุ่ม โดยเฉพาะ หมวดยานยนต์ เผชิญ แรงกดดัน เพิ่มเติม จาก อุปสงค์ ต่างประเทศ ที่ชะลอลง
ทั้งนี้ ทาง ธปท. ต้องติดตาม การฟื้นตัวของ การส่งออก และ ภาคการผลิต รวมทั้ง แรงกระตุ้น จากนโยบาย ภาครัฐ ใน ช่วงครึ่งหลัง ของปี 2567
นอกจาก ประเด็นเกี่ยวกับ โครงสร้าง การผลิต และ สินค้า ที่ส่งผลต่อ ความสามารถในการแข่งขัน ของ ประเทศไทย กับ คู่แข่งในตลาดโลก แล้ว
ปัญหาด้าน ภูมิรัฐศาสตร์ ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ยังเป็นประเด็น ที่ส่งผลให้ การขนส่งสินค้า มีต้นทุน ค่าขนส่งที่สูงขึ้น ด้วย
ถึงแม้ค่าเงินบาท ของไทย จะอ่อนตัวลง เมื่อเทียบกับ เงินสกุลหลัก อย่าง ดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ตาม แต่ เมื่อเทียบกับ สมรรถนะการแข่งขัน ต้นทุน การผลิตที่สูง ขึ้น แล้ว สินค้า ส่งออก จาก ไทย ยังเผชิญกับ ปัญหา อีกหลายด้าน
ทำให้ ภาคการส่งออก ที่เคยเป็น ดาวเด่น ของ ไทย ไม่สามารถ ส่อง ประกาย ได้เหมือนเดิม ถึงแม้จะยังคงเติบโต แต่ ก็ไม่ได้ เติบโตแรง เหมือนในอดีต
การลงทุนชะลอตัว
ส่วนภาคการ ลงทุน ทั้งของ ภาครัฐ และ เอกชน ในช่วง 5 เดือนแรก ของปี ในส่วนของ ภาครัฐ ต้องเรียกว่า เงียบหายไปเลย เพราะ ต้องรอ งบประมาณปี 2567 ที่เพิ่งจะผ่าน การลงมติจาก สภาผู้แทนราษฏร ไปเมื่อ เดือน พฤษภาคม ที่ผ่านมา
จากกระบวนการ เบิกจ่าย งบประมาณ คาดว่า เม็ดเงิน ลงทุน จากภาครัฐ ในโครงการต่างๆ ที่มีมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้าน บาท จะออกมาใช้ได้ ก็คงราวๆ ไตรมาส 3 ของปี ซึ่งเป็น ไตรมาสสุดท้าย ของ งบประมาณ แล้ว
ส่วน ที่จะรอ เงิน ดิจิทัล วอลเล็ต ของ รัฐบาล 500,000 ล้านบาท จากเงื่อนไข เวลา กว่าจะ ออกมาใช้ได้ น่าจะ เดือน ธันวาคม คงจะ กระตุ้น เศรษฐกิจ ในปี นี้ได้ไม่มากนัก
ส่วนการลงทุนของ ภาคเอกชน หลายบริษัท ชะลอแผนการลงทุน รอดูสถานการณ์ เศรษฐกิจ หลายบริษัท ย้ายฐานการผลิต ไปแหล่งผลิต ที่มีต้นทุนที่ถูกกว่า
ทำให้การลงทุน ของ ภาคเอกชน ในปีนี้ ถึงแม้จะ เพิ่มขึ้น ก็เพิ่มขึ้น ในอัตราที่ต่ำ ไม่สามารถที่จะ เป็นเครื่องยนต์ ที่ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ ไทย ให้พุ่งทะยานได้
ส่วนการ บริโภค ภายในประเทศ อันนี้ ผู้เขียน ขอแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การบริโภค ภายในประเทศ ที่เกิดจาก กำลังซื้อ ภายในประเทศ กับ กำลังซื้อ ที่มาจากต่างประเทศ หรือ ภาคการท่องเที่ยว
กลุ่มแรก กำลังซื้อ ภายในประเทศ จากสถานการณ์ ภาระหนี้ครัวเรือน ที่สูง เกิน 90% จะเอา กำลังซื้อที่ไหน มาซื้อสินค้า และ บริการ ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า ปีที่ผ่านๆ มา แค่ประคองตัว ให้รอด ภาคครัวเรือนไทย ยังอยู่ยากเลย
ในขณะที่ กำลังซื้อ จากต่างประเทศ ที่มาจากภาคการท่องเที่ยว เป็นกำลังซื้อที่สำคัญ ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ได้ อย่างแท้จริง เป็นเครื่องยนต์ เดียว ที่ผู้เขียน เชื่อว่า
จะสามารถขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้ แต่ เครื่องยนต์นี้ คงไม่สามารถ ดันให้เศรษฐกิจไทย โตได้ ถึง 3 % แน่นอน
ธนาคารโลก คาด เศรษฐกิจไทย โตแค่ 2.4%
จากข้อมูล ดังกล่าว ล่าสุด ธนาคารโลก (World Bank) ได้ประกาศ ปรับลด การคาดการณ์ การเติบโต ของเศรษฐกิจ ไทย ในเดือน เมษายน ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจ ไทย จะเติบโต เพียง 2.4 %
ปรับลดลง จากเดิม ที่คาดการณ์ว่า จะเติบโตที่ 2.8 % เป็นการปรับลด การคาดการณ์ลง เป็นครั้งที่สอง จากเดิมที่เคย คาดการณ์ว่า จะเติบโตที่ 3.2 %
เป็นอัตราการเติบโต ที่ต่ำกว่า การเติบโตของ เศรษฐกิจ โลก ที่ ธนาคารโลก คาดว่า เศรษฐกิจ โลก จะเติบโตที่ 2.6 % ในปี 2567
และต่ำกว่า การเติบโตของ เศรษฐกิจ ในกลุ่ม ประเทศ เอเชีย ตะวันออก และ แปซิฟิก ที่ ธนาคารโลก คาดว่า จะเติบโตที่ 4.8 % ในปีนี้
หมายความว่า ประเทศไทย มีอัตราการเติบโตของ เศรษฐกิจในปี 2567 ต่ำกว่า หลายประเทศใน ภูมิภาคเอเชีย
และ ปรับลด การคาดการณ์ อัตราการเติบโต ของ เศรษฐกิจ ไทย ในปี 2568 เหลือ เพียง 2.9 % จากเดิม ที่คาดการณ์ว่า จะเติบโตที่ 3 %
โดยที่ ธนาคารโลก เชื่อว่า เครื่องยนต์ ที่ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ ไทย ในปี 2567 คือ ภาคการท่องเที่ยว พร้อม กับ ย้ำว่า ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของ ไทย ถือว่า ต่ำ มากเมื่อเทียบ กับ สหรัฐอเมริกา การลดดอกเบี้ย ไม่ได้แก้ปัญหา เชิงโครงสร้าง ของ เศรษฐกิจ ไทย
ซึ่งความเห็น ดังกล่าว สอดคล้อง กับ ความเห็นของ กนง. ที่ ล่าสุด มีมติ คงอัตราดอกเบี้ย นโยบาย ของไทย ไว้ที่ 2.5%
โดย กนง. ยังคง มั่นใจว่า เศรษฐกิจไทย ปี 2567 จะเติบโตที่ 2.6 % และ 3 % ในปี 2568

เศรษฐกิจไทย จะไปต่อ หรือ พอแค่นี้!
จากความเห็น ของ ธนาคารโลก ธปท. สภาพัฒน์ฯ และ อีกหลายหน่วยงาน จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ ปี 2567 เศรษฐกิจไทย จะยังคง เติบโต แต่เป็น อัตราการเติบโต ที่ต่ำกว่า การคาดการณ์ ในหลาย มิติ
ถ้าเทียบกับ การคาดการณ์ เมื่อต้นปี 2567 ผ่านมา 5 เดือน เศษ การคาดการณ์ อัตราการเติบโต เศรษฐกิจ ไทย ถดถอย ลงอย่างต่อเนื่อง จาก 3 – 4 % ลงมาอยู่ที่ 2.5 – 3 % ล่าสุด คือ ลงมาอยู่ที่ระดับ 2 – 2.5%
ซึ่ง ผู้เขียน ไม่แน่ใจว่า จนถึง ไตรมาสสาม ของปี 2567 ที่กำลังจะมาถึง การคาดการณ์ อัตราการเติบโตของ เศรษฐกิจไทย จะถูก ปรับ ลดลง อีกหรือ ไม่ เพราะในเดือนนี้ (มิถุนายน 2567) นอกจาก ปัจจัย ทางเศรษฐกิจ ที่รุมเร้า ทั้งภายในและภายนอก แล้ว
ประเทศไทย ยังเผชิญ ปัจจัยเสี่ยง ทางการเมือง ทั้งเรื่อง คุณสมบัติของ นายกรัฐมนตรี ที่ถูก สมาชิกวุฒิสภา 40 ท่าน ยื่นเรื่อง ให้ ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย จากการ แต่งตั้ง นาย พิชิต ชื่นบาน เป็น รัฐมนตรี ประจำสำนักนายก
อัยการสูงสุด นัด นักโทษชาย ทักษิณ ชินวัตร มาฟัง คำสั่งส่งฟ้อง กรณีความผิด มาตรา 112 ในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 การเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการ คัดเลือก ฯลฯ
แต่ละเรื่อง ส่งผลกระทบ ต่อความเชื่อมั่นของ ภาคเอกชน ทั้ง ไทย และ เทศ ในการตัดสินใจลงทุน รวมถึง ความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภค
จากปัจจัยต่างๆ เล่านี้ ทำให้ ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะสามารถพุ่ง ทะยาน ต่อไป ตามที่รัฐบาล วาดฝันไว้ หรือ จะพออยู่แค่นี้ คือ
โตได้ แต่ โต แบบ เบาๆ ค่อยเป็น ค่อยไป ไม่ใช่ แบบที่ คนคาดหวังกัน ว่า มีนายกฯ ชื่อ เศรษฐา แล้ว คนไทย จะกลายเป็น เศรษฐี กันทั้งประเทศ!
ในขณะที่ตอนนี้ แต่ละ คน แบกหนี้ กันถ้วนหน้า ต้องแก้หนี้ ให้ได้ก่อน ถึงจะเป็น เศรษฐี กันได้
เมื่อเครื่องยนต์ หลายเครื่อง ทำงานไม่ได้ ทำให้ผู้เขียน ก็ไม่แน่ใจว่า เศรษฐกิจไทย จะไปต่อ กันได้ขนาดไหน คงต้องติดตามกันต่อไป
แต่ที่แน่ๆ คือ ลอง ดูเงินในกระเป๋า ของแต่ละคน ว่า เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง แค่นี้ ก็พอจะบอกได้ว่า เศรษฐกิจ ไทย จะไปต่อ หรือ พอแค่นี้!
ที่มาของข้อมูล : https://www.bot.or.th/th/our-roles/monetary-policy/mpc-meeting.html
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/inflation-effect-09062024/

Editor's Pick
