BangkokX-Horizontal
เปิดรายได้-กำไร 10 บิ๊กอสังหาฯ ไตรมาส 1/67
เปิดรายได้-กำไร 10 บิ๊กอสังหาฯ ไตรมาส 1/67

เปิดรายได้-กำไร 10 บิ๊กอสังหาฯ ไตรมาส แรก ตั้งแต่ ต้นปี 2567 ยังเป็น ช่วงเวลา ที่ยากลำบาก ของ ผู้ประกอบการ อสังหาริมทรัพย์ ผลกระทบ จาก ภาวะเศรษฐกิจ ชะลอตัว ต่อเนื่อง

และ ปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นปัจจัย กดดัน กำลังซื้อ ของคนไทย

แต่มี ผู้ประกอบการ อีก หลายราย ยังคงมี การบริหารจัดการ ที่ดี โดยเฉพาะ ใน กลุ่ม  ผู้ประกอบการ 3 อันดับแรกในธุรกิจอสังหาฯ

เปิดรายได้-กำไร 10 บิ๊กอสังหาฯ ไตรมาส แรก “แสนสิริ” นำโด่ง

แต่ หากพิจารณา จากการ เปลี่ยนแปลง เปรียบเทียบ กับ กำไรสุทธิ ใน ไตรมาส 1/2567 แล้ว จะพบว่า

มีเพียง แสนสิริ ที่มี ผลประกอบการ ทั้ง รายได้ และ กำไร มากที่สุด เป็น อันดับ ที่ 1

โดยเฉพาะ ในส่วน ของ รายได้ ถือ เป็นผู้ประกอบการ รายเดียว ที่มีรายได้ มากกว่า 10,000 ล้านบาท (10,170 ล้านบาท)

และ มีกำไรสุทธิ  มากเป็นอันดับ 1 ด้วย เช่นกัน อยู่ที่ 1,315 ล้านบาท ทิ้งห่าง อันดับ ที่ 2 มากพอสมควร

 

เปิดรายได้-กำไร 10 บิ๊กอสังหาฯ ไตรมาสแรก กำไร “ลด”

 

ขณะที่ ไตรมาส ที่ 4 ปี 2566 ที่ผ่านมา นั้น กำไร และ รายได้ ของ ผู้ประกอบการ อสังหาฯ อาจจะ มากกว่า ไตรมาส อื่นๆ ของปี 2566

เพราะ มี มาตรการ ลดค่า โอนกรรมสิทธิ์ จาก 2 % เหลือ 1 % และ ค่าจดจำนอง จากเดิม 1 % เหลือ 0.01 % ซึ่งมี ผลบังคับใช้ แล ะสิ้นสุด ณ สิ้นเดือน ธันวาคม ปีที่ ผ่านมา

ถือเป็น ช่วงเวลา ที่มีการเร่ง การโอน กรรมสิทธิ์ ที่อยู่อาศัย ที่มี ราคาขายต่ำ กว่า 3 ล้านบาท เพื่อให้ ทันต่อ มาตรการนี้

และ กำไร ในไตรมาส 1/2567 ของ บริษัท ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่ ลดลง แบบชัดเจน เมื่อเทียบกับ ไตรมาส ก่อนหน้า เพราะ มาตรการอสังหาฯ สิ้นสุดลง ขาดแรงจูงใจ

ส่งผลให้ ผู้บริโภค ชะลอ การตัดสินใจซื้อ เพื่อ รอดู สถานการณ์ และ ทิศทาง ของรัฐบาล ก่อน ทำให้ กำไร ในไตรมาส 1/2567 แบบ รายบริษัท มีเพียงกลุ่ม แสนสิริ เท่านั้น ที่มี กำไรเพิ่มขึ้น เมื่อ เทียบกับ ไตรมาส 4/2566

สุรเชษฐ์ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ (Property DNA) ให้ความเห็น ว่า

มาตรการ กระตุ้นกำลังซื้อ ในตลาดอสังหาฯ ของ รัฐบาลที่ ประกาศออกมา เมื่อ วันที่ 9 เมษายน ที่ผ่านมา ถือว่า เป็นสัญญาณ บวก ที่ดี ซึ่งจะช่วย กระตุ้น กำลังซื้อใน ตลาด ที่อยู่อาศัย

แต่อาจจะ เห็นผลเป็น รูปธรรม ในช่วง ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ดังนั้น รายได้ และ กำไรสุทธิ ที่เกิดขึ้น ในช่วง ไตรมาส 1 เกิดจาก การดำเนินการ ของ ผู้ประกอบการ แต่ละราย ผ่าน การจัด โปรโมชัน หรือ นโยบาย ส่งเสริม การขาย ของบริษัท เท่านั้น

 

 

มั่นใจมาตรการรัฐ กระตุ้นตลาด ครึ่งปีหลัง

ส่วนการ ขยายเพดาน ของมูลค่า ที่อยู่อาศัย ที่จะได้ รับประโยชน์ จากมาตรการนี้ จากเดิม เพียงแค่ 3 ล้านบาท ขึ้นไป ถึง 7 ล้านบาท ต่อ ยูนิต

ทำให้ ครอบคลุม สินค้า ถึง 85% ของ ตลาดที่อยู่อาศัย ในประเทศไทย ดังนั้น จึงเป็นที่ คาดการณ์กันว่า จะทำให้เ กิดการ โอนกรรมสิทธิ์  ที่อยู่อาศัยในปี 2567 มากกว่า ปีก่อน หน้านี้ (ปี 2566) ประมาณ 5% – 6% คิดเป็น มูลค่า การโอนกรรมสิทธิ์ มากถึง 1.1 ล้านบาท

และส่งผล ให้ GDP ขยายตัว เพิ่มขึ้น อีก 1.8 % ซึ่งเรื่องนี้ ผู้ประกอบการ แต่ละราย น่าจะมี มาตรการ ทางการตลาด ควบคู่ ไปด้วย

ส่วน  ผู้ประกอบการที่ สร้างรายได้ เข้ามาแล้ว ในระดับสูง อย่าง แสนสิริ ก็มีโอกาสที่ จะ ครองอันดับ ที่ 1 ไปจนถึง สิ้นปีนี้ อีกครั้ง

แต่ ผู้ประกอบการ ทุกราย ยังมีโอกาส ในการ สร้างรายได้ เพิ่มมากขึ้นในปีนี้ จาก มาตรการ สนับสนุน ของ รัฐบาล และ การฟื้นตัว ของ กำลังซื้อ ที่มีแนวโน้ม เริ่มดีขึ้น ต่อเนื่อง

สำหรับ ภาพรวม ตลาดอสังหาฯ ปี 2567 ถือ เป็นปีที่ ผู้ประกอบการ ในธุรกิจอสังหาฯ ต้องใช้ ความระมัดระวัง ในการบริหาร จัดการ ความเสี่ยง ของตนเอง

และ บริหาร จัดการ สต็อกคงค้างในส่วนของบริษัท ให้สอดคล้อง กับ มาตรการของ รัฐบาล อีกทั้งยัง ต้องบริหาร การเปิดขาย โครงการใหม่ ให้ต่อเนื่อง รวมทั้ง ยังต้องมี การบริหารความเสี่ยง ในส่วนของ กำลังซื้อ หรือ ผู้ที่สนใจ จะซื้อ ที่อยู่อาศัย เป็นของตนเอง ด้วย

จะเห็นว่า ผู้ประกอบการ หลายรายได้ เริ่มออกมาตรการ และ นโยบาย มาช่วยเหลือ ผู้ซื้อ ทั้งในเรื่อง ของการให้ ความรู้ ทำความเข้าใจ ขั้นตอน และกระบวนการ ในการ ขอสินเชื่อ จากธนาคาร

รวมไปถึง การทำ Pre-Approve ก่อนที่ จะเข้าสู่ ขั้นตอน การเซ็นสัญญา ซื้อ-ขาย และ การให้เช่า อยู่ก่อนซื้อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ ผู้ประกอบการ หลายรายให้ความสำคัญ เพิ่มมากขึ้น ในปี 2567 นี้

 

ที่มาของข้อมูล : https://www.set.or.th/th/home

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/property-package-10042024/

Ellipse 1
กองบรรณาธิการ Bangkok X

บทความที่เกี่ยวข้อง