
บสย. ผนึก กรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม และ 4 ธนาคาร พันธมิตร เพื่อ ขับเคลื่อน สนับสนุน วิสาหกิจ ขนาดกลาง และ ขนาดย่อม ให้เข้าถึง หลักประกัน และ แหล่งเงินทุน เปิด โครงการ “ติดปีก SMEs หลักทรัพย์ ไม่มี ดีพร้อม ค้ำประกัน ให้ “ คิกออฟ ทั่วไทย 14 ก.พ. 67 ลงทะเบียน ผ่าน ช่องทาง LINE OA @tcgfirst
สิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการ และ ผู้จัดการทั่วไป บรรษัท ประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า
ได้ บรรลุข้อตกลง ความร่วมมือ กับ กรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ DIPROM (ดีพร้อม) กระทรวง อุตสาหกรรม และ ธนาคาร พันธมิตร 4 ธนาคาร คือ
ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ออมสิน ธนาคาร พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือ SME D BANK และ ธนาคาร เพื่อ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank)
สนับสนุน การเข้าถึง หลักประกัน และ แหล่งเงินทุน ให้กับ วิสาหกิจ ขนาดกลาง และ ขนาดย่อมที่เป็น สมาชิก กรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม
โดยมี ภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดี กรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม บสย. และ ผู้บริหาร จาก 4 ธนาคาร พันธมิตร ร่วมลงนาม พร้อมด้วย พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการ กระทรวง อุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธี
พร้อมเริ่ม โครงการ ตั้งแต่ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป คาดว่า จะสามารถ ช่วย ผู้ประกอบการ เข้าถึง สินเชื่อ ผ่าน การ ค้ำประกัน สินเชื่อ ได้ ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท สร้าง มูลค่าเพิ่ม ทางเศรษฐกิจ ได้ไม่น้อย กว่า 8,000 ล้านบาท
บสย. ผนึก กรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม ตั้งเป้า 3 ปี แก้ปัญหา SMEs
ทั้งนี้ ภายใต้ กรอบ การดำเนิน โครงการ ระยะเวลา 3 ปี (2567-2569) บสย. กรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม และ 4 ธนาคาร พันธมิตร พร้อม ให้การสนับสนุน ผู้ประกอบการ วิสาหกิจ ขนาดกลาง และ ขนาดย่อม
โดย บสย. และ กรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม จะร่วมกัน พิจารณา การค้ำประกัน สินเชื่อ และ เป็น หลักประกัน ให้เมื่อได้ รับสินเชื่อ
ขณะเดียวกัน บสย. จะทำหน้าที่ เป็น ตัวกลาง SMEs Gateway ใช้กลไก ของ ศูนย์ที่ปรึกษา ทางการเงิน SMEs ครบวงจร
“บสย. F.A.Center” เป็น ตัวกลาง (Credit Mediator) เชื่อมโยง ผู้ประกอบการ เข้าถึง แหล่งทุน ควบคู่ กับ การ ขยาย บทบาท การ ค้ำประกัน สินเชื่อ เชื่อมโยง ผ่าน ดิจิทัล แพลตฟอร์ม
สำหรับ ผู้สมัคร เข้าร่วม โครงการ จะสามารถ ทราบผล การพิจารณา เบื้องต้น ภายใน 7 วัน ผ่าน 5 ขั้นตอน คือ
1. DIPROM Pre-screen พิจารณา คุณสมบัติ ประวัติ ทางการเงิน ของ ผู้ประกอบการ ที่สมัคร
2. เมื่อ ผ่านเกณฑ์ ดำเนินการ ลงทะเบียน ผ่าน LINE OA @tcgfirst
3. บสย.จะพิจารณา คุณสมบัติ และ ความ สามารถ ทางการเงิน เบื้องต้น
4. ยื่นเรื่อง ขอสินเชื่อ กับ ธนาคาร เพื่อพิจารณา อนุมัติสินเชื่อ
5. บสย. ออก หนังสือ ค้ำประกัน สินเชื่อ ผ่าน โครงการ ค้ำประกัน ดอกเบี้ยถูก (พ.ร.ก. สินเชื่อ ฟื้นฟู) และ โครงการ ค้ำประกัน สินเชื่อ BI-7
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ ที่สมัคร ภายใน 30 วัน หลังจาก เปิดรับสมัคร และ ได้รับ อนุมัติ สินเชื่อ และ การ ค้ำประกัน กับ บสย.
สำหรับ 100 รายแรก บสย. มอบ สิทธิประโยชน์ ยกเว้น ค่าดำเนินการ ค้ำประกัน หรือ ค่า ออก LG ทันที
ที่มาของข้อมูล : https://www.tcg.or.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/gdp-forecast-29043024/
