
“ไทย” ส่งออกข้าว ปี 2566 ทะลุ เป้าหมาย ที่ 8.76 ล้านตัน ตั้ง เป้าหมาย ส่งออก ปี 25 67 ขั้นต่ำ 7.5 ล้านตัน
“ไทย” ส่งออกข้าว ปี 2566 8.76 ล้านตัน
กรม การค้าต่างประเทศ กระทรวง พาณิชย์ สรุป ตัวเลขส่งออก ปี 2566 ที่ 8.76 ล้านตัน พร้อม คาดการณ์ ส่งออก ข้าว ปี 2567 ที่ 7.5 ล้านตัน
จับตา สถานการณ์ การผลิต และ การค้า ข้าวโลก และ ผลกระทบ เอลนีโญ พร้อม เดินหน้า ตามแผน ส่งเสริม ตลาดข้าว
โดยมุ่งเน้น ประชาสัมพันธ์ ข้าวไทย ใน ตลาด ต่างประเทศ กระชับ ความสัมพันธ์ และ สร้าง ความเชื่อมั่น กับ คู่ค้า สำคัญ
รวมทั้ง จัดงาน ประชุม ข้าว นานาชาติ ในไทย ที่เว้นว่าง จาก การจัด ตั้งแต่ ช่วง โควิด-19

รณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดี กรม การค้าต่างประเทศ เปิดเผย สรุป ยอดส่งออก ในปี 2566 ส่งออกข้าว ได้ 8.76 ล้านตัน เกินกว่า เป้าหมาย ที่กำหนด ไว้ 8 ล้านตัน
คิดเป็น มูลค่า 178,136 ล้านบาท (ประมาณ 5,144 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ปริมาณ และ มูลค่า ส่งออก เพิ่มขึ้น จากปีก่อน 13.62 % และ 28.43 % ตามลำดับ
กรม การค้าต่างประเทศ ร่วมกับ สมาคม ผู้ส่งออกข้าวไทย คาดการณ์ ร่วมกัน ว่า การ ส่งออก ข้าวไทย ในปี 2567 จะมี ปริมาณ 7.5 ล้านตัน
โดยปัจจัย ที่มีผล ต่อ การคาดการณ์ ตัวเลข ดังกล่าว ได้แก่ ผลผลิต ข้าวของไทย ที่คาดว่า จะลดลง จาก ปีก่อน 5.87 % ซึ่งเป็น ผลกระทบ จาก ปรากฏการณ์ เอลนีโญ และ การส่งออก ที่อาจ เผชิญกับ การแข่งขัน และ ความท้าทาย หลายประการ
โดยมี ปัจจัย จาก ปริมาณ ผลผลิต ข้าวโลก ที่มี แนวโน้มเพิ่มขึ้น มากกว่า ปีที่ผ่านมา ทำให้ ปริมาณ อุปทานข้าวโลก เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ข้าว ของ ประเทศคู่ค้า มีแนวโน้ม ปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่ง เกิดจาก ความนิยม ของ การบริโภค ข้าว ลดลง อาทิ
จีน ญี่ปุ่น และ มาเลเซีย ทำให้ การแข่งขัน ทางด้านราคา รุนแรงขึ้น ขณะที่ ไทย มี ต้นทุนการผลิต ค่อนข้างสูง ทำให้ ราคาข้าวไทย สูงกว่า ประเทศ ผู้ผลิต และ ประเทศ ผู้ส่งออก เช่น จีน เวียดนาม และ อินเดีย
นอกจากนี้ มีสัญญาณ ว่า อินโดนีเซีย อาจ ซื้อข้าว น้อยกว่า ปีที่ผ่านมาเพราะ มีข้าว ค้างสต็อก จากปี 2566 ค่อนข้างมาก
ขณะที่ จีน มีการผลิต ข้าวมากขึ้น และ เริ่ม ปรับเปลี่ยน จากการ เป็นผู้นำเข้า ข้าว ให้เป็น ผู้ผลิตข้าว ที่เพียงพอ ต่อ การบริโภค ของประชากร และ อาจส่งออก ในอนาคต
นอกจากนี้ อินเดีย อาจประกาศ ยกเลิก การระงับ การส่งออก ข้าวขาว ซึ่งจะทำให้ ภาคเอกชน ของ อินเดีย กลับมา ส่งออกข้าว ได้เสรี ตามปกติ ซึ่ง ปัจจัยดังกล่าว ล้วนเป็น ความท้าทาย ต่อ การส่งออก ข้าวไทย
เร่งพัฒนา พันธ์ุข้าวไทย แข่ง ตลาดโลก
อธิบดี กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวถึง แนวทางการ รับมือ กับ ความท้าทาย ในการขาย ข้าว ให้ ประเทศคู่ค้า ในประเด็น ที่ ราคาข้าวไทย สูงกว่า ราคาข้าว ของ ประเทศ ผู้ส่งออก รายอื่น
อันเนื่อง มาจาก ต้นทุนการผลิต ที่สูง ดังนั้นแล้ว จึงจำเป็น อย่างยิ่ง ที่ ไทย ต้องเร่ง เพิ่มขีด ความสามารถ ใน การแข่งขัน ของ ข้าวไทย ใน ตลาดโลก
โดยพัฒนา พันธุ์ข้าว ให้มี ผลผลิตต่อไร่ สูง ไม่ควรน้อย ไปกว่า ผลผลิต ข้าวต่อไร่ ของประเทศ ผู้ส่งออก อื่น ซึ่ง ปัจจุบัน มีผลผลิตต่อไร่ สูงกว่า ไทย ทั้งสิ้น
ประกอบกับ พันธุ์ข้าว ต้องมี ความต้านทานโรค และ แมลง เพื่อ ลดต้นทุน การใช้ปุ๋ย และ การกำจัดแมลง
หาก ไทย ไม่มุ่งเน้น พัฒนา ปรับปรุง ในเรื่อง ดังกล่าว จะทำให้ ไทย เสียเปรียบ ในการแข่งขัน ทางการค้า ข้าว ในตลาดโลก ในที่สุด
อธิบดี กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติม ว่า กรม การค้าต่างประเทศ พร้อมเดินหน้า ทำงานใกล้ชิด กับ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ภาครัฐ และเอกชน รวมทั้ง สมาคม ผู้ส่งออกข้าวไทย
เพื่อ ส่งเสริม และ ผลักดัน การส่งออก ข้าวไทย ตามนโยบาย ของ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ภูมิธรรม เวชยชัย) ในการ “รักษาตลาดเดิม เพิ่มตลาดใหม่ ในการส่งออก ไปต่างประเทศ”
โดย กิจกรรมหลัก ที่จะจัดขึ้น ในปีนี้ ประกอบด้วย การจัดงาน ประชุมข้าวนานาชาติ “Thailand Rice Convention (TRC) 2024” ในเดือน พฤษภาคม 2567 ซึ่งเป็น งานประชุม ใหญ่ ที่ผู้เชี่ยวชาญ ใน วงการ ค้าข้าวโลก มาพบปะ แลกเปลี่ยน ข้อมูล สถานการณ์ ตลาดข้าวโลก และ เจรจาธุรกิจ ระหว่างกัน
รวมทั้ง จะมี การจัดงาน TRC สัญจร ลงพื้นที่ เพื่อให้ ข้อมูล แนวโน้ม ความต้องการ ข้าว ในตลาดโลก แก่ เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว เพื่อส่งเสริม ให้เกษตรกร สามารถ ผลิตข้าว ได้ตรงกับ ความต้องการ ของตลาด มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ กรมฯ มี แผนเดินทาง ไปกระชับ ความสัมพันธ์ และ ขยายตลาดข้าว กับ แอฟริกาใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์
ซึ่งเป็น ตลาดข้าว ที่สำคัญ อันดับต้นๆ ของไทย รวมทั้ง การเจรจา ซื้อ – ขาย ข้าว แบบ รัฐต่อรัฐ (G to G) กับ รัฐบาล อินโดนีเซีย และ จีน
รวมถึง ประเทศอื่น ที่มี ความประสงค์ ขอซื้อข้าว ใน รูปแบบ G to G ตลอดจน การเข้าร่วม งานแสดงสินค้า ที่สำคัญ และ จัด Thai Rice Roadshow ประชาสัมพันธ์ ข้าวไทย ใน ตลาดจีน ด้วย
สำหรับข้อมูล ใบอนุญาต ส่งออกข้าว ของ กรม การค้าต่างประเทศ พบว่า ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคม 2567 มีปริมาณ 1,122,358 ตัน เพิ่มขึ้น 43.96 % เมื่อ เปรียบเทียบ กับ ช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ที่มี ปริมาณ การขออนุญาต ส่งออกข้าวอยู่ที่ 779,654 ตัน
ที่มาของข้อมูล : https://www.moc.go.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/economic-2024-24012024/

Editor's Pick
