
แบงก์ชาติ ระบุ ท่องเที่ยว และ บริโภค ดันเศรษฐกิจ ไตรมาส 4 ปี 2566 ขยายตัว ได้ 3.7% ส่งผลให้ ทั้งปีโต ได้ 2.4% จากที่ อัตราการเติบโต 9 เดือนแรกอยู่ที่ 1.9%
เป็นผล มาจาก การเติบโต ของ“ภาคท่องเที่ยว-การบริโภค-ลงทุนเอกชน” เป็น แรงขับเคลื่อน หลัก จับตา ภาคส่งออก – เอลนีโญ – สงครามอิสราเอล – ฮามาส กระทบ ราคาพลังงาน
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. หรือ แบงก์ชาติ) ชญาวดี ชัยอนันต์ แถลงภาพรวม เศรษฐกิจไทย ในไตรมาส ที่ 4/2566 ว่า ธปท.คาดว่า เศรษฐกิจไทย ในไตรมาส 4 2566 จะขยายตัว ได้ ในระดับ 3.7% จากทั้งปี 2566
ที่ประมาณการ อัตราการ ขยายตัว เศรษฐกิจ (จีดีพี) ในระดับ 2.4 % ส่วนหนึ่ง มาจาก ฐานที่ต่ำ ในปี 2565 รวมถึง ภาค การท่องเที่ยว และ ส่งออก ที่ขยายตัว ขณะที่ ไตรมาสที่ 3/2566 ตัวเลขที่ ออกมา ต่ำกว่า คาด มาจากตัวเลข ภาคการผลิต ออกมาแย่กว่า ที่คาการณ์ ตามการ ส่งออกที่ยัง ไม่ได้ฟื้นตัว ตามการ ขยายตัว ของ เศรษฐกิจคู่ค้า

แบงก์ชาติ ระบุ ท่องเที่ยว และ บริโภค ดันเศรษฐกิจโต
ทั้งนี้ หากดู เครื่องชี้วัด เศรษฐกิจ ในเดือน ตุลาคม 2566 ยังคงอยู่ ในทิศทางการ ฟื้นตัว และ แนวโน้ม ในเดือน พฤศจิกายน ยังคงปรับตัว ดีขึ้น ซึ่งแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจ หลัก มาจาก อุปสงค์ ภายในประเทศ
โดย ภาค การบริโภค เอกชนในเดือน ตุลาคม ขยายตัว 1.7 % จากเดือนก่อน ที่หดตัว -1.3 % ซึ่ง ขยายใน ทุกหมวด ยกเว้น ภาคบริการ โรงแรม และภัตตาคาร
สอดคล้อง กับ จำนวน นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ลดลง อย่างไรก็ดี การบริโภค เอกชน ที่ขยายตัว สอดคล้องกับ ความเชื่อมั่น ผู้บริโภค ที่ปรับดีขึ้น จากมาตรการ ค่าครองชีพ และ มาตรการ กระตุ้นทางด้าน การท่องเที่ยว
ขณะที่ การลงทุน ภาคเอกชน ขยายตัว 1.4 % จากเดือนก่อน ที่หดตัว -1.6 % โดย การเพิ่มขึ้น มาจาก เครื่องจักร และ อุปกรณ์ และ ด้านก่อสร้าง
รวมถึงมี การนำเข้า สินค้าทุน ในหมวด การสื่อสาร และ การขยาย พื้นที่ก่อสร้าง แม้ว่า ความเชื่อมั่น ภาคการลงทุน ปรับลดลง แต่ยังคงอยู่ เหนือระดับ 50
สำหรับภาคการท่องเที่ยว จะเห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนตุลาคมหดตัว -1.4% โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ 2.2 ล้านคน จากเดือนก่อนขยายตัว 5.6% จำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 2.1 ล้านคน ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวที่ปรับลดลงเป็นไปตามฤดูกาล และเป็นนักท่องเที่ยวประเทศรัสเซียที่เร่งตัวไปก่อนหน้า และมาเลเซียที่มีการประกาศวันหยุดยาวเพิ่มเติมในเดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชะลอและคาดว่าจะเข้ามาในเดือนพฤศจิกายนแทน
โดยภาพรวมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาตินับตั้งแต่ต้นปี-ตุลาคม 2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วทั้งสิ้น 22.2 ล้านคน แต่ในส่วนของรายได้จากภาคการท่องเที่ยวได้ปรับลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวและอัตราการเข้าพัก รวมถึงโครงสร้างนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนกลุ่มจากการท่องเที่ยวระยะยาวมาแบบระยะสั้นมากขึ้น อย่างไรก็ดี ธปท.คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลทั้งปี 2566 อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์ จากปัจจุบันเกินดุลแล้ว 3.5 พันล้านดอลลาร์
ส่วนภาคการส่งออก (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนตุลาคมหดตัว -1.4% จากเดือนก่อนหน้าขยายตัว 4.8% เป็นผลมาจากเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว และลดลงตามการส่งออกเครื่องประดับไปฮ่องกง และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงตามการส่งมอบสินค้า และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ลดลงตามการส่งออกไปสหรัฐ อย่างไรก็ดี การส่งออกบางหมวดปรับเพิ่มขึ้น เช่น รถยนต์ในออสเตรเลีย และปิโตรเลียมไปอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับภาคการผลิตที่หดตัว -2.1%
การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนหดตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางเป็นสำคัญ ตามการเบิกจ่ายที่ลดลงจากการทบทวนงบประมาณปี 2567 ที่ล่าช้า ขณะที่รายจ่ายประจำของรัฐบาลกลางขยายตัว ตามการเบิกจ่ายเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ และค่ารักษาพยาบาลข้าราชการและการเบิกจ่ายของหน่วยงานด้านการศึกษา สำหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวตามการเบิกจ่ายในโครงการด้านคมนาคมและสาธารณูปโภค
ขณะที่ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจาก -0.31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 0.30% ตามราคาพลังงานและอาหารสดที่ปรับลดลง โดยหมวดพลังงานลดลงจากมาตรการลดราคาน้ำมันดีเซลของภาครัฐ และราคาน้ำมันเบนซินที่ลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยหมวดอาหารสดลดลงจากผลของฐานสูงในราคาผักเป็นสำคัญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวจากเดือนก่อนจาก 0.63% มาอยู่ที่ 0.66%
ด้านอัตราแลกเปลี่ยนในเดือนตุลาคมจะพบว่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า ซึ่งมาจาก 2 ส่วน คือ ดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น และตลาดปรับการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน รวมถึงความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาทในเดือนพฤศจิกายนมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตามการอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ออกมาอ่อนแอลง และนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
“ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคมยังคงฟื้นตัว โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการบริโภคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน และหากมองไปข้างหน้าในเดือนพฤศจิกายนเครื่องชีวัดเศรษฐกิจหลายตัวปรับดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจสำคัญที่ขับเคลื่อนยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคเอกชน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามภาคการส่งออกสินค้า และผลกระทบจากเอลนีโญ และความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ต่อราคาพลังงาน” ชญาวดี กล่าว
ที่มาของข้อมูล : https://www.bot.or.th//th/coverpage.html
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://bangkokx.me/imf-economy-18042024/

Editor's Pick
